Abstract:
จากการสุ่มตัวอย่างสัตว์ทะเล ได้แก่ กุ้งขาว (Litopenaeus vannamai) กุ้งแชบ๊วย (Pinaeus merguiensis) กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rocenbergei) และปลากะพงขาว (Lates calcalifer) จากจังหวัดในภาคตะวันออก คือ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา มาตรวจหาสารปฏิชีวนะตกค้างในกล้ามเนื้อ ซึ่งสารปฏิชีวะที่สุ่มตรวจ ได้แก่ สารกลุ่ม B-lactam, Macrolides, Chloramphenicol, Tetracyclines และสารกลุ่ม Sulphonamides พบว่าในปลากะพงขาว 20 ตัวอย่างมีสารแอนติไบโอติกตกค้าง 4 ตัวอย่าง คิดเป็น 20% ของตัวอย่างทั้งหมด โดยสารตกค้างเป็นสารกลุ่ม B-lactam/ Macrolides 10% เป็นสารกลุ่ม Sulphonamides 10% ส่วนการตรวจหาปฏิชีวนะตกค้างในกุ้ง จากกุ้ง 150 ตัวอย่าง พบสารปฏิชีวนะตกค้าง 37 ตัวอย่าง ซึ่งคิดเป็น 24.66% โดยเป็นสารกลุ่ม B-lactam/ Macrolides เป็นส่วนใหญ่ (15.3%) สารในกลุ่ม Sulphonamides (11.3%) และสารในกลุ่ม Tetracyclines 4.66% แม้เปอร์เซ็นต์ของการตรวจพบ ไม่สูงเท่ากับการตรวจพบใน
แหล่งเพาะเลี้ยงอื่น ๆ ที่มีการสุ่มตรวจ แต่ก้อนับว่าเป้นการตรวจพบเป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากสารแอนติไบโอติกเป็นสารอันตราย จึงไม่ควรมีการปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารแม้แต่ตัวอย่างเดียว
สำหรับในอาหารทะเลแช่แข็งรวมทั้งอาหารแปรรูปที่นำมาตรวจหาทั้งหมด 183 ตัวอย่าง พบอาหารและผลิตภัณฑ์แปรรูปมีสารตกค้างรวมทั้งหมด 103 ตัวอย่าง ทั้งกุ้งทั้งที่ต้มแล้ว และยังไม่ผ่านการต้มปลาชนิดต่าง ๆ แช่แข็ง หอยแมลงภู่แช่แช็ง คิดเป็น 56.3% ส่วนปลาทะเลแช่แข็ง เช่น ปลาโรนัน ปลาไข่ ปลาแมคดคอเรล ปลาทับทิม พบทั้งสารในกลุ่ม Sulphonamides และ Aminoglycosides โดยอาหารแปรรูปกุ้งหรือปลาบดชุบเกร็ดขนมปัง พบ Aminiglycosides มากที่สุด นับว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากพอสมควรและอาหารที่ต้มแล้ว สารก้อยังคงสภาพอยู่