DSpace Repository

การนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเพิ่มศักยภาพภาคอุตสาหกรรม

Show simple item record

dc.contributor.author เกรียงศักดิ์ พราหมณพันธุ์
dc.contributor.author บุญรัตน์ ประทุมชาติ
dc.contributor.author ศิริพร ทรัพย์โตทิม
dc.contributor.author พัชรวรินทร์ เอี่ยมสอาด
dc.contributor.author น้ำทิพย์ บุญขวาง
dc.contributor.author วรรณภา โปษยาอนุวัตร์
dc.contributor.author เจษฎา ปุรินทวรกุล
dc.contributor.author ศุภากร วนิชลานันท์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักบริการวิชาการ
dc.date.accessioned 2020-04-09T02:58:05Z
dc.date.available 2020-04-09T02:58:05Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3861
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องการนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเพิ่มศักยภาพ ภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลักคือ (1) สร้างระเบียบมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน (Talent Mobility) พ.ศ.2562 (2) กิจกรรมการอบรมและเสวนากลุ่ม อาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 30 คน และ (3) กิจกรรมกรอกแบบสอบถามจากอาจารย์และบุคลากรที่ให้ความสนใจโครงการ Talent Mobility จำนวน 100 คน เกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนำ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percent) และค่าเฉลี่ย (Mean) ซึ่งค่าเฉลี่ยที่ใช้มีการจัดระดับความสำคัญจากค่าน้อยสุดถึงสูงสุด 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 คะแนน 1.00-1.80 ระดับ 2 คะแนน 1.81-2.60 ระดับ 3 คะแนน 2.61-3.40 ระดับ 4 คะแนน 3.41-4.20 และระดับ 5 คะแนน 4.21-5.00 จากการวิจัย ได้ยกร่างระเบียบมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน (Talent Mobility) พ.ศ.2562 มีผู้เข้ารับการอบรมส่วนมากมาจากคณะวิทยาศาสตร์ 26.67% ตามด้วยคณะเทคโนโลยีการเกษตร (13.34%) ส่วนผู้ให้ความสนใจโครงการ Talent Mobility มากที่สุดมาจากคณะวิทยาศาสตร์ (29.10%) ตามด้วยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (10.47%) โดยผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่อบรมสูงขึ้น ก่อนการเข้าร่วมโครงการผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่อบรมทั้งหมด 2.74 คะแนน (x= 2.74) และหลังจากการอบรมแล้วผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่อบรมทั้งหมดสูงขึ้น (x = 4.69) ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลของการอบรมว่ามีผลต่อการเพิ่มพูนความรู้ของ ผู้เข้ารับการอบรมมากขึ้น กล่าวคือ เข้าใจระบบการทำงานวิจัยและการพัฒนาร่วมกันกับองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม (x= 4.53) อีกทั้งยังสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และการทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ (x = 4.77) เข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครือข่ายงานวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (x = 4.56) เข้าใจแนวทางในการสร้างเครือข่ายงานวิจัย (x = 4.50) เข้าใจลึกซึ้งในวัฒนธรรมองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม (x = 4.82) และวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการตลาดได้ (x = 4.59) ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีต่อการทำงานร่วมกับภาคเอกชน (x = 4.82) และสามารถนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ร่วมกับภาคเอกชน (x = 4.56) และผลจากการเสวนากลุ่ม เกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พบว่า มหาวิทยาลัยยังขาดการประชาสัมพันธ์และการสร้างความรับรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีในมหาวิทยาลัยให้ภาคเอกชน มหาวิทยาลัยไม่มีฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญของอาจารย์/ นักวิจัยอย่างชัดเจนที่เป็นระบบออนไลน์ ภาคเอกชนเข้าถึงอาจารย์/ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยต้องใช้ระยะเวลา และกระบวนการหลายขั้นตอน อีกทั้งมหาวิทยาลัยมีกฎระเบียบในการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ที่ซึ่งระเบียบไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานจริง th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การฝึกอบรม
dc.subject การบริหารองค์ความรู้
dc.subject สาขาการศึกษา
dc.title การนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเพิ่มศักยภาพภาคอุตสาหกรรม th_TH
dc.title.alternative Mobility of knowledge technology and innovation of Burapha University for enhancing the potentiality of industry en
dc.type Research th_TH
dc.author.email Kriangsak@buu.ac.th th_TH
dc.author.email boonyara@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Research on the mobility of knowledge, technology and innovation of Burapha University for enhancing the potentiality of industry included three main activities as (1) creating the regulation for supporting university staff to work with industry or private sector (Talent mobility) in B.E. 2562 (2) Training and group discussion activities, which were participated by 30 professors and staffs of Burapha University and (3) Questionnaire for a hundred of professors and staffs who interested in talent mobility program then analyze using descriptive statistic as percent and mean with 5 levels from 1 (1.00-1.80), 2 (1.81-2.60), 3 (2.61-3.40), 4 (3.41-4.20) to 5 (4.21-5.00), respectively. From the results of research, Drafting a regulation for supporting university staff to work with industry or private sector (Talent mobility) in B.E. 2562 was performed. The majority of the most trainees came from the faculty of science (26.67%), followed by from faculty of agricultural technology (13.34%). The staffs from the faculty of science (29.10%) who was priority interested in talent mobility program and followed by faculty of engineering (10.47%). The trainees got superior knowledge concerning the topics of training. The trainees got overall scores before and after training were = 2.74 and = 4.69 respectively. This indicated that the training program affected significantly to enhancing their knowledge. The trainees comprehended how to joined and developed research with business and industrial organizations ( = 4.53), enhancing the ability of learning skills and teamwork ( = 4.77), knew how to integrated the research from networks to created the value ( = 4.56), and how to performed the research cluster ( = 4.50), perceived the culture of business and industrial organizations ( = 4.82), and how to developed product with the industry in order to respond the market demand ( = 4.59), including realized the importance of intellectual properties when deal with the private sectors ( = 4.82) onto implementing intellectual property to the private sector ( = 4.56). The results of group discussion concerning how to implementing university’s research for commercialization found that university lacked public relation and recognition about knowledge, technology and innovation of university to private sector. University lacked obviously the online database of skillful professors/researchers, took a long time and many steps to access university's professor/researcher. Furthermore, regulation of the university for conducting research with the private sector was not convenience for actual work. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account