DSpace Repository

แนวทางการผลิตบุคลากรด้านพาณิชยนาวีและโลจิสติกส์เพื่อรองรับความต้องการของการขยายตัวทาง เศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author สราวุธ ลักษณะโต
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์
dc.date.accessioned 2020-04-03T07:55:22Z
dc.date.available 2020-04-03T07:55:22Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3843
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการผลิตบุคลากรด้านพาณิชยนาวีและโลจิสติกส์เพื่อรองรับความต้องของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออก โดยทำการศึกษาในพื้นที่ จังหวัด ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยมี 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นตัวขับเคลื่อนสู่ Thailand 4.0 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจคุณภาพเครื่องมือวิจัยและจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เก็บข้อมูลจาก สถานประกอบการและสถานศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 165 ตัวอย่างโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน F-test และ One-way ANOVA ในการวิเคราะห์ข้อมูล และจัดเสวนาเพื่อร่วมแสดงความ คิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่านและผู้เข้าร่วม จำนวน 194 ท่าน โดยกำหนดกรอบแนวทาง การวิจัยไว้ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบัณฑิต 2) ด้านอาจารย์ 3) ด้านความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับ หน่วยงานต่าง ๆ 4) ด้านนโยบายรัฐบาล และ 5) ด้านการบริหารจัดการของสถานศึกษา ผลการศึกษา พบว่าสถานประกอบการและสถานศึกษาในทั้ง 3 จังหวัดให้ความสำคัญด้านอาจารย์มากที่สุด เมื่อพิจารณาคุณสมบัติย่อยใน 5 ด้านที่มีความเห็นตรงกันระดับสูงสุดตั้งแต่ 2 จังหวัดขึ้นไปสถานประกอบการพบ 3 ด้าน 1) ด้านบัณฑิต ได้แก่ ทักษะด้านความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม 2) ด้านอาจารย์ ได้แก่ การเป็นแบบอย่างทางคุณธรรม จริยธรรม 3) ด้านการบริหารจัดการของสถานศึกษา ได้แก่ การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรโดยการทำการวิจัยตามความต้องการของตลาดแรงงาน สถานศึกษาพบ 2 ด้าน 1) ด้านบัณฑิต ได้แก่ ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมใหม่ ๆ การมีคุณธรรมและจริยธรรม และการมีทักษะด้านความร่วมมือและ การทำงานเป็นทีม 2) ด้านความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ การจัดให้ศึกษาดูงานเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ และการจัดอบรมให้บริการทางด้านวิชาการและวิชาชีพเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (เพิ่มเติม) th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การพัฒนากำลังคน th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.subject พาณิชยนาวี th_TH
dc.title แนวทางการผลิตบุคลากรด้านพาณิชยนาวีและโลจิสติกส์เพื่อรองรับความต้องการของการขยายตัวทาง เศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative The Guidelines of Education in Maritime and Logistics Human Resources for Economic Growth in the East Region of Thailand en
dc.type Research th_TH
dc.author.email tooninkorea@gmail.com th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study the guidelines of education in maritime and logistics human resources for economic growth in the East region of Thailand, will be focused in 3 eastern provinces namely Chonburi, Rayong and Chachoengsao. According to the Eastern Economic Corridor (EEC) development plan under scheme of Thailand 4.0 of Thai government’s policies, has 10 targeted industries for driving Thailand 4.0. The research tool for this study is questionnaire that content validity of the developed test was verified by item-objective congruency index. The data collected from entrepreneurs and institutions for 165 samples and analyzed data by applied Mean, Standard Deviation, F-test and Oneway ANOVA. The group seminar from 4 experts and was attend 194 participants. The conceptual framework of guidelines will be divided into 5 factors which are 1) graduate, 2) instructor, 3) participation between university and enterprises, 4) government policies and 5) institution management. The study found that the most important factor for entrepreneurs and institutions of all 3 provinces is lecturers’ aspect. When considering the sub-features from all 5 factors, there are the consistent opinions at the highest level which comes from the same opinion from at least 2 provinces. For entrepreneurs found 3 aspects, 1) Graduate factor: collaborative and teamwork skills, 2) Instructor factor: integrity and ethics role model and 3) Institution management factor: development and improvement the curriculum by conducting research based on labor market. For institution’s viewpoint found 2 aspects, 1) Graduate factor: ability to use information technology and new innovation, morality & ethic and collaboration and teamwork skills and 2) Participation between university and enterprises factor: educational trip for increasing experiences and holding academic and professional training for exchanging learning. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account