DSpace Repository

การศึกษาอิทธิพลของแรงเค้นอัดในอดีตที่มีผลต่อพฤติกรรมการเสียรูปของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพภายใต้สภาวะแวดล้อมแบบความเครียดในระนาบ

Show simple item record

dc.contributor.author ปิยะฉัตร ฉัตรตันใจ
dc.contributor.author เสนีย์ เทียนเรียว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-03T03:48:20Z
dc.date.available 2020-04-03T03:48:20Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3841
dc.description.abstract จากปัญหาในทางวิศวกรรมปฐพีที่ก่อสร้างบนชั้นดินเหนียวอ่อนเช่น งานวิเคราะห์เสถียรภาพคันดิน, งานกำแพงกันดิน และงานอุโมงค์ เป็นต้น เมื่อพิจารณาเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมของโครงสร้างดังที่กล่าวมาพบว่าการเสียรูปนั้นเป็นการเสียรูปแบบในระนาบ ซึ่งดินจะไม่เกิดการเคลื่อนตัวในแนวตั้งฉากกับระนาบที่เกิดการเสียรูป เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงเฉือนและการเสียรูปของดิน งานวิจัย ส่วนใหญ่มักจะนำดินเหนียวอ่อนประกอบตัวใหม่ซึ่งถึงว่าเป็นตัวอย่างดินที่มีสภาพใกล้เคียงกับดินในธรรมชาติมากที่สุดมาใช้ในการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบคุณสมบัติการรับแรงเฉือนของดินแบบแรงอัดสามแกน แต่หากพิจารณาเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมของการทดสอบดังกล่าวนั้นจะพบว่าเป็นแบบสมมาตรรอบแกนซึ่งไม่ตรงกับงานทางวิศวกรรมปฐพีที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้นซึ่งจะเป็นแบบความเครียดในระนาบ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาพฤติกรรมการรับแรงเฉือนของดินเหนียวอ่อนภายใต้สภาวะแวดล้อมแบบความเครียดในระนาบซึ่งจะตรงกับสภาวะจริงที่เกิดขึ้นในสนามมากกว่า อย่างไรก็ตามการทดสอบดินเหนียวอ่อนภายใต้สภาวะแวดล้อมแบบความเครียดในระนาบนั้นจะมีปัญหาอย่างมากในขั้นตอนการตัดดินให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมและการสวมถุงยางเข้ากับตัวอย่างโดยไม่ทำให้เกิดการรบกวน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงทำการแก้ปัญหาโดยการออกแบบเครื่องมือทดสอบ ใหม่เพื่อที่จะสามารถทำการเตรียมตัวอย่างดินเหนียวอ่อนในขั้นตอนการอัดตัวคายน้ำและเฉือนตัวอย่างแบบความเครียดในระนาบด้วยอุปกรณ์ชุดเดียวกัน การสร้างดินเหนียวประกอบตัวใหม่ทำได้โดยใช้เทคนิคการให้แรงเค้นในแนวดิ่งประกอบกับแรงดูดโดยที่ระบบการทดสอบทั้งหมดจะถูกควบคุมโดยระบบแบบป้อนกลับ เงื่อนไงสภาวะแวดล้อมของการทดสอบจะถูกเปลี่ยนเป็นแบบความเครียดในระนาบเมื่อสิ้นสุดการอัดตัวคายน้ำหลัก หลังจากนั้นตัวอย่างจะถูกทำให้เกิดการอัดตัวคายน้ำเป็นครั้ง ที่สองและจะทำการเฉือนตัวอย่างทันทีเมื่อการอัดตัวคายน้ำหลักสิ้นสุดลง จากผลการทดสอบพบว่า ค่าความสามารถในการรับแรงเฉือนจะเพิ่มขึ้นตามค่าความเค้นที่ใช้ในขั้นตอนการอัดตัวคายน้ำ จากการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวด้วยการประเมินผลภาพถ่ายพบว่าตัวอย่างจะเกิดแถบแรงเฉือนขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงที่ค่าความเค้นเฉือนลดลงและแถบแรงเฉือนนั้นจะเกิดขึ้นเป็นรูปตัว “เอ็กซ์” เมื่อสิ้นสุดการเฉือน th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปี พ.ศ. 2559 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject วิศวกรรมปฐพี th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การศึกษาอิทธิพลของแรงเค้นอัดในอดีตที่มีผลต่อพฤติกรรมการเสียรูปของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพภายใต้สภาวะแวดล้อมแบบความเครียดในระนาบ th_TH
dc.title.alternative Study the effect of stress history on deformation characteristics of Bangkok soft clay in plane strain condition en
dc.type Research th_TH
dc.author.email piyachatc@eng.buu.ac.th
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative For many geotechnical engineering problems (e.g., stability of the slope, retaining wall and embankment, etc.) dealing with very soft clay deposit, their characteristics are of plane strain condition, in which the strain increment is kept zero in the out-of-plane direction. For achieving high repeatability of specimen preparation of very soft clay sample, reconstituting technique is widely adopted. The re-constituted specimens are then subjected to a program of advanced triaxial tests, which are of axis-symmetric condition, for study of, generally, the stress-strain behaviors, strength, and volumetric change characteristics. However, the above-mentioned characteristics observed in the axis-symmetric condition by triaxial tests are significantly different from the ones that would be observed in the plane strain condition, and therefore, plane strain compression (PSC) tests on very soft clay are necessary. One of difficulties found with typical reconstituted very soft clay for plane strain test are trimming the clay cake into the rectangular shape and installing the rubber membrane, while not disturbing the sample. In the present study, a special PSC apparatus, by which reconstituting for test specimen can be performed inside the confining chamber, and then, after the primary consolidation is completed, the PSC shearing can be applied successively, was newly developed. Reconstituting is performed by consolidating the injected slurry by a compression the top cap using an air cylinder with feedback control first system combined negative pore-water pressure (suction), After the first primary consolidation is finish, the boundary condition was changed to plane strain condition, and then, The second consolidation process is continue preformed in the same plane strain cell which its boundary condition were controlled by applied vertical deformation via computer controller. After finishing the second primary consolidation, the PSC shearing of specimen can be performed consecutively by applying vertical compression. According to testing results, the soil shear strength increases with increasing the consolidation pressure. The specimens failed via a well-defined shear band during softening stress regime, and the photogrammetric analysis can be performed later to determine the strain fields. The shear band shapes of all specimens were ‘X’ type at the end of shearing. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account