Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสาร Organic solvent และการประเมินค่าความเสี่ยงด้านสุขภาพของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตรองเท้ายางแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 320 คน แบ่งเป็น กลุ่มศึกษา 170 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 150 คน กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 33.32 ปี และ 39.69 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่หลักในการผลิตรองเท้ายาง 12 ชั่วโมงต่อวัน (รวมล่วงเวลา) ร้อยละ 30.0 และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 100.0 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้ง ร้อยละ 63.5 โดยส่วนใหญ่มีการใช้หน้ากากที่ทำมา จากกระดาษกรอง ร้อยละ 96.9 ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษา (n=100) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 19,780.94± 46,529.281 ppb, Acetone 24,943.95± 46,887.189 ppb, MEK 22,173.79± 29,356.401
ppb, MIBK 547.73± 975.472 ppb, Benzene 3.00± 14.161 ppb และ Ethyl benzene 3.95 ±9.397ppb
และมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า กลุ่มศึกษา (n=170) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene ในปัสสาวะ 0.146 ± 0.200 mg/l, Ethyl benzene ในปัสสาวะ 0.036 ± 0.060 mg/l, Benzene ในปัสสาวะ 0.011 ± 0.057 mg/l, Acetone ในปัสสาวะ 0.003 ± 0.007 mg/l,
MEK ในปัสสาวะ 0.282 ± 0.397 mg/l และ MIBK ในปัสสาวะ 0.000 ± 0.001 mg/l และเมื่อ
ประเมินค่าความเสี่ยง (HQ) พบว่า สาร Toluene และ MEK อยู่ในระดับอันตรายมากและเมื่อ
เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Toluene และ Benzene ในบรรยากาศ
การทำงานแบบติดตัวบุคคลระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ มีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 (p < 0.001 และ p =0.037 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Toluene, Ethyl benzene, Acetone, MEK, Benzene
และ MIBK ในปัสสาวะระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 (p <0.001, p <0.001, p <0.001, p <0.001, p = 0.011 และ p =
0.016 ตามลำดับ) เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Acetone, MEK
และ MIBK ในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคล มีความสัมพันธ์กับปริมาณระดับความ
เข้มข้นของสาร Acetone, MEK และ MIBK ในปัสสาวะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ
0.05 (p<0.001, p<0.001 และ p=0.037 ตามลำดับ) จากผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่ม
ศึกษามีการสัมผัสสาร Organic solvent ในขณะที่ปฏิบัติงานและค่าความเสี่ยงของสาร Toluene และ MEK อยู่ในระดับอันตรายมาก ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับโปรแกรมการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงการให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน