dc.contributor.author | เอกรัฐ คำเจริญ | |
dc.contributor.author | จักรพงษ์ รัตตะมณี | |
dc.contributor.author | ศิริลักษณ์ กมลวรรณสิทธิ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร | |
dc.date.accessioned | 2020-03-31T03:09:04Z | |
dc.date.available | 2020-03-31T03:09:04Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3829 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤกษเคมีเบื้องต้น ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์และแทนนิน และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดหยาบจากส่วนใบและส่วนหน่อของไผ่ชนิดต่าง ๆ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ไผ่สีสุก ไผ่ดา ไผ่น้ำเต้า ไผ่ป่าไร้หนาม ไผ่ซางนวล ไผ่รวก ไผ่โจด ไผ่เพ็ก และไผ่เลี้ยง โดยเก็บตัวอย่าง นำมาล้างทำความสะอาด ทำแห้ง บดให้ละเอียด สกัดโดยการต้มด้วยน้ำ และระเหยแห้งด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เมื่อนำสารสกัดหยาบมาทดสอบพฤกษเคมีเบื้องต้นพบว่า สารสกัดจากใบไผ่มีสารสำคัญกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซาโปนินและแทนนิน แต่สารสกัดจากหน่อไผ่พบว่ามีเพียงซาโปนิน และพบว่าหน่อไผ่บางชนิดเท่านั้นที่มี ฟลาโวนอยด์ เมื่อนำสารสกัดไปวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ และแทนนิน พบว่า สารสกัดจากใบไผ่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มากกว่าสารสกัดจากหน่อไผ่ และสารสกัดหยาบจากใบไผ่เลี้ยง (xThyrsocalamus liang) มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมากที่สุด (6.02±0.16 มิลลิกรัมกรดแกลลิกต่อกรัมน้ำหนักตัวอย่างแห้ง) สารสกัดหยาบจากใบไผ่ซางนวล (D. membranaceus) มีปริมาณฟลาโวนอยด์สูงที่สุด (283.1 ±13.7 ไมโครกรัมเคอซิตินต่อกรัมน้ำหนักตัวอย่างแห้ง) เมื่อนำสารสกัดไปวิเคราะห์กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระพบว่า กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS มีค่า IC50 อยู่ระหว่าง 20.0-63.7 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยสารสกัดจากใบของไผ่เพ็ก (V. pusilla) (IC50 20.0) ไผ่ซางนวล (D. membranaceus) (IC50 24.0) และไผ่สีสุก (B. blumeana) (IC50 26.5) มีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารมาตรฐานบีเอ็ชที (IC50 27.4) | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว | th_TH |
dc.subject | ชาสมุนไพร | th_TH |
dc.subject | ไผ่ | th_TH |
dc.subject | อนุมูลอิสระ | th_TH |
dc.subject | สารพฤกษเคมี | th_TH |
dc.subject | ฟลาโวนอยส์ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.title | การใช้ประโยชน์จากสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของไผ่เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร | th_TH |
dc.title.alternative | Utilization of bioactive compounds of bamboos for herbal tea product development | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | agratk@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | sirilakk@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | chakkrapong@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study the phytochemical screening, phenolic compounds, flavonoid and tannin content, and antioxidant activity of the crude extract from leaves and shoots of nine bamboo species such as Bambusa blumeana, B. lako, B. vulgaris, Bambusa sp., Dendrocalamus membranaceus, Thyrsostachys siamensis, Vietnamosasa ciliata, V. pusilla and xThyrsocalamus liang in the area of Burapha University Sakaeo Campus. The bamboo samples were collected, washed, dried, milled, extracted by boiling in water, and dried using rotary evaporator. Phytochemicals, flavonoid and tannin content, and antioxidant activity were evaluated in the leaf and shoot extracts. The result showed that flavonoids, saponins and tannins were found in all of the leaf extracts. In contrast, saponins were found in all of the shoot extracts, moreover, flavonoids were presented in some of shoot extracts. The leaf extracts contained phenolic compounds and flavonoids than the shoot extracts. Moreover, the leaf extract of xThyrsocalamus liang had the highest amount of phenolic compounds (6.0±0.2 mg GAE/g dride sample). While, the leaf extract of D. membranaceus had the highest amount of flavonoid contents (283.1±13.7 μg QE/mg dried sample). The bamboo’ antioxidant potential, express in IC50 varied between 20.0 and 63.7 μg/ml for ABTS assay, especially the leaf extracts of V. pusilla (IC50 20.0), D. membranaceus (IC50 24.0) and B. blumeana (IC50 26.5) were higher antioxidant activity than standard BHT (IC50 27.4). | en |