DSpace Repository

ผลของการให้ถั่วอัลฟาฟ่าต่อปริมาณ Phytoestrogen ในน้ำนมของโคนม

Show simple item record

dc.contributor.author สุปรีณา ศรีใสคำ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned 2020-03-31T02:04:07Z
dc.date.available 2020-03-31T02:04:07Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3827
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นการหาองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (ปริมาณของฟีนอลิกทั้งหมด, สารประกอบฟีนอลิก, ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด, สารประกอบฟลาโวนอยด์, ไอโซ-ฟลาโวน) และการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธี DHHP, ABTS และ FRAP assay ซึ่งใช้ Trolox เป็นสารมาตรฐานทางการค้าในการเปรียบเทียบในถั่วอัลฟัลฟ่าแห้งชนิดอัดเม็ด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินศักยภาพถั่วอัลฟัลฟ่าก่อนนำไปประยุกต์ใช้เป็นอาหารเลี้ยงโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชียนในระยะรีดนม เนื่องจากไอโซฟลาโวนเป็นสารประกอบธรรมชาติที่พบได้ในพืชวงศ์ถั่ว ซึ่งช่วยกระตุ้นการเพิ่มฮอร์โมนเอสโตร เจนในร่างกาย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่เข้าสู่วัยทองและมีปัญหาอาการเกี่ยวเนื่องจากภาวะหลังหมดประจำเดือน ถั่วนอกจากจะเป็นแหล่งวัตถุดิบโปรตีนคุณภาพดีที่ได้รับความสนใจในแง่ของสารพฤษเคมีแล้ว ยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในด้านการป้องกันโรคและเป็นสารโภชนเภสัชที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย ดังนั้นหากสามารถพัฒนาอาหารเสริมสุขภาพจากการเสริมถั่วอัลฟัลฟ่าในอาหารโคนมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ทางเลือก (นมโคไอโซฟลาโวนสูง) ที่สามารถ มีคุณสมบัติเป็นอาหารเชิงหน้าที่ป้องกันหรือลดการเกิดโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้าน องค์ประกอบทางเคมี ปริมาณของฟีนอลิกทั้งหมด, ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด, เดดซีนและเจนิสทีน ในถั่วอัลฟัลฟ่าแห้งชนิดอัดเม็ด เท่ากับ 18.17 เปอร์เซ็นต์โปรตีน, 2.42 mg GAE/g sample, 2.25 mg RE/g sample, 55.12 และ 25.92 μg/g sample ตามลำดับ และมีสารประกอบฟีนอลิกชนิด Gallic acid สูงที่สุด (215.30 μg/g sample) ปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์ Apigenin สูงสุดที่ 2,278.27 μg/g sample ขณะที่การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ DPPH, ABTS และ FRAP assay เท่ากับ 46.69, 66.09 เปอร์เซ็นต์ และ 3.25 mgFe2+/g sample โดยไม่พบปริมาณความเข้มข้นของไอโซฟลาโวนในรูปอนุพันธ์ของเดดซีน และเจนิสทีนในตัวอย่างน้ำนมดิบที่ผลิตได้จากแม่โคที่ไม่ได้รับถั่วอัลฟัลฟ่า เป็นอาหารในครั้งนี้ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร th_TH
dc.subject โคนม - - การเลี้ยง th_TH
dc.subject พืชอาหารสัตว์ th_TH
dc.subject อาหารสัตว์ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ผลของการให้ถั่วอัลฟาฟ่าต่อปริมาณ Phytoestrogen ในน้ำนมของโคนม th_TH
dc.title.alternative Effects of feeding alfalfa on milk phytoestrogen concentration in dairy cattle en
dc.type Research th_TH
dc.author.email supreena.sr@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative The aim of this study was to measured chemical composition, bioactive compound (Total phenolic, phenolic compounds, total flavonoids, flavonoids, isoflavone) and antioxidant activity of alfalfa dehydrated pellet (ADP) by DHHP, ABTS and FRAP assay including commercial standard ( Trolox) . The potentially ingredient of ADP was studied to evaluate the nutritive values before apply to use in the Crossbred Holstein- Friesian lactating dairy cows diet. Isoflavone is a natural substance occurring in legume that stimulates and increases estrogen in the body especially in women entering menopause and have problems related to postmenopausal symptoms. Legume, in addition to being a source of good quality protein source that have interested in terms of phytochemicals, it also contains bioactive compounds in case of disease prevention and antioxidant activity. Therefore, if able to develop foods beneficial on health from supplementing ADP in dairy cattle feed to achieve alternative products (Highflavonoids level in dairy cow milk) as functional food properties to prevent or reduce the incidence of Non-Communicable diseases (NCDs), that will be useful for health. The chemical composition, total phenolic, total flavonoids, daidzein and genistein in ADP was at 18. 17% crude protein, 2. 42 mg GAE/ g sample, 2. 25 mg RE/ g sample, 55. 12 and 25.92 μg/g sample respectively, and the highest of gallic acid (215.30 μg/g sample), apigenin at 2,278. 27 μg/ g sample while antioxidant activity with DPPH, ABTS and FRAP assay is 46. 69, 66. 09% and 3. 25 mgFe2+ / g sample respectively, with non- detect in the form of Isoflavone derivatives of daidzein and genistein in of raw cow’ s milk samples that all cows were fed concentrate with ad libitum fresh grass (non ADP). en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account