Abstract:
ชันจากชันโรงเป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงชันโรงของเกษตรกร เพื่อใช้ในการผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตของผลไม้เศรษฐกิจ จากการศึกษาฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งชนิดต่าง ๆ ของสารสกัดชัน จากชันของชันโรงสายพันธุ์ Tetragonula pegdeni ที่เก็บได้จากแหล่งต่าง ๆ ในจังหวัดจันทบุรี ได้แก่
ป่าชายเลน สวนส้มโอ และสวนสมุนไพร พบว่าสารสกัดชันจากสวนส้มโอ
มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งตับ (HepG2 cell) และเซลล์มะเร็งผิวหนัง (SK-MEL-28 cell) ได้ดี ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 63.43 และ 18.71 μg/mL ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน doxorubicin (IC50 เท่ากับ 36.34 และ 5.95μg/mL ตามลำดับ) และแสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติในระดับต่ำ (IC50 เท่ากับ 213.85 μg/mL) จึงมีความน่าสนใจในการนำมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี และจากการแยกสารด้วยวิธี chromatography ได้แก่ flash column chromatography (SiO2, dichloromethane : methanol,
9:1 ตามด้วย SiO2, hexane : ethyl acetate, 1:1) และ HPLC (C18, 10-35% water in methanol,
flow rate 2.3 mL/min, RT = 8.5 min) ได้สารบริสุทธิ์รายการแรกเป็นสารในกลุ่ม indole alcohol
ได้แก่ 1H-indole-2-methanol-3-ol,2,3-dihydro-6-methoxy (1) สารบริสุทธิ์รายการที่ 2 ซึ่งเป็นอนุพันธุ์ dimethoxy ได้มาจากการแยกสารด้วย HPLC (C18, 55% water in acetonitrile, flow rate 2.6 mL/min, RT = 14.6 min) และสารบริสุทธิ์รายการที่ 3 ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม terpene ได้มา
จากการแยกสารด้วย HPLC (C18, 10% water in acetonitrile, flow rate 2.0 mL/min, RT = 15.4
min)