DSpace Repository

การพัฒนาพืชสมุนไพรท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี เพื่อยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคที่สำคัญในพืช

Show simple item record

dc.contributor.author ณัทธีรา สมารักษ์
dc.contributor.author นิสาชล เทศศรี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-29T13:27:18Z
dc.date.available 2020-03-29T13:27:18Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3819
dc.description.abstract ฤทธิ์การต้านเชื้อราก่อโรคพืชเบื้องต้นของพืชสมุนไพรท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี 6 ชนิดคือ เร่วหอม (Amomum xanthioides) กระวาน (Amomum krervanh) กระทือ (Zingiber zerumbet) ชะมวง (Garcinia cowa) กลอย (Dioscorea hispida) และ ชะเนียง (Archidendron jiringa) ต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Fusarium sp. สาเหตุของโรคเหี่ยวในพืชผัก และเชื้อ Rhizoctonia sp. สาเหตุของโรคราใบติดในทุเรียน ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่ทาให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจ ทำการทดลองโดยนำพืชมาบดและสกัดด้วยตัวทาละลาย คือ เฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และเมทานอล นำสารสกัดที่ได้มาทาการทดสอบฤทธิ์การต้านการเจริญของเชื้อราโดยวิธี poisoned food technique พบว่าสารสกัดที่ระดับความเข้มข้นต่างกันมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเส้นใยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสารสกัดจากชะเนียงด้วยเฮกเซนสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใย Fuarium sp. ได้ดีที่สุด มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญเติบโต 57.88% รองลงมาคือสารสกัดจากกระวานด้วยเฮกเซน 55.05% ส่วนสารสกัดด้วยไดคลอโรมีเทนจาก ชะมวง เร่วหอม กระวาน กระทือ และกลอย สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Rhizoctonia sp. ได้ดีมากเฉลี่ย 90.74, 82.67, 94.44, 99.00 และ 94.44% ตามลำดับ ที่ความเข้มข้น 10,000 ppm th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject พืชสมุนไพร th_TH
dc.subject จุลินทรีย์ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การพัฒนาพืชสมุนไพรท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี เพื่อยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคที่สำคัญในพืช th_TH
dc.title.alternative Development of local medicinal plant in Chanthaburi Province against important phytopathogenic microbial species en
dc.type Research th_TH
dc.author.email s_nattee@hotmail.com
dc.author.email tedsree@yahoo.com
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Antifungal activity of local medicinal herb extracts from chanthaburi province; Bustard cardamom (Amomum xanthioides), Siam Cardamom (Amomum krervanh), Wild Ginger (Zingiber zerumbet), Cowa (Garcinia cowa), Wild yam (Dioscorea hispida) and Jiringa (Archidendron jiringa) to inhibit mycelial growth of Fusarium sp. caused fusarium wilt disease and Rhizoctonia sp. caused rhizoctonia leaf blight disease of durian, the most important disease that causes serious economic losses. The dried plants were milled and extracted with hexane, dichloromethane and methanol. Crude extracts were tested for antifungal activity by using poisoned food technique. The result showed that significantly different in crude extracts varied level on mycelia growth inhibition. As the Jiringa crude extract by hexane showed the highest inhibition on mycelial growth of Fusarium sp. at 57.88%, followed by Siam Cardamom crude extract by hexane at 55.05%. The crude extract by dichloromethane from Cowa, Bustard cardamom, Siam Cardamom, Wild Ginger and Wild yam showed the high inhibition on mycelial growth of Rhizoctonia sp. at 90.74, 82.67, 94.44, 99.00 and 94.44%, respectively at concentration 10,000 ppm. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account