DSpace Repository

โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการและการเฝ้าระวังโรคมาลาเรียในพื้นที่ภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author ประภา นันทวรศิลป์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-29T10:08:28Z
dc.date.available 2020-03-29T10:08:28Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3817
dc.description.abstract โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการนำความรู้จากงานวิจัยพื้นฐานทางระบาดวิทยาร่วมกับนิเวศวิทยาของเชื้อมาลาเรียมาใช้ประโยชน์ในด้านการป้องกันและควบคุม การแพร่กระจายโรคมาลาเรียโดยอาศัยเทคโนโลยีชีวภาพทางแพทย์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวินิจฉัยชนิดของเชื้อมาลาเรีย การดื้อต่อยารักษาของเชื้อ ที่พบทั้งในคนและในยุงพาหะ ให้มีความจำเพาะและแม่นยำยิ่งขึ้น รวมทั้งสำรวจการดื้อต่อยาฆ่าแมลงของยุงพาหะในแต่ละพื้นที่ที่มีการรายงานพบการติดเชื้อมาลาเรีย โดยอาศัยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เข้ามาช่วยในการกำหนดขอบเขตพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย (Malaria transmission site; MTS) ทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าไปทำการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ในพื้นที่จังหวัดตราดพบพื้นที่ที่สามารถระบุให้เป็น MTS ได้ทั้งสิ้น 30 MTS ชนิดของยุงพาหะที่มีการตรวจพบเชื้อ Plasmodium vivax เป็นยุงพาหะหลัก คือ Anopheles dirus โดยเชื้อ Plasmodium vivax ที่พบทั้งในผู้ป่วยในพื้นที่และในยุงพาหะนั้นมีลักษณะการกลายพันธุ์ของยีน pvmdr1 โดยพบ double mutation คือ Y976F ร่วมกับ F1076L ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะพบในเชื้อที่ดื้อต่อยาคลอโรควินที่ใช้รักษาการติดเชื้อ Plasmodium vivax แต่ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีน pvcrt-o ยุงพาหะที่พบการติดเชื้อดังกล่าวอยู่ใน MTS ที่ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ B1 แสดงให้เห็นว่าแม้จะไม่มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ การแพร่กระจายเชื้อที่ก่อให้เกิดมาลาเรียก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก ยังพบยุงพาหะที่ติดเชื้อในพื้นที่ และไม่พบลักษณะการกลายพันธุ์ของยีน kdr ที่ทำให้เกิดการดื้อต่อยาฆ่าแมลงของยุงพาหะในพื้นที่ ดังนั้นการเฝ้าระวังโรค จึงต้องมีความรัดกุมและเร่งค้นหา ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการไปพร้อมกับการควบคุมยุงพาหะหลักในพื้นที่ที่เคยมีการรายงานพบผู้ป่วยมาลาเรียเพื่อเป็น การสนับสนุนการกำจัดมาลาเรียพื้นที่ตราด th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ระบาดวิทยา th_TH
dc.subject โรคมาลาเรีย th_TH
dc.subject เทคโนโลยีชีวภาพ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการและการเฝ้าระวังโรคมาลาเรียในพื้นที่ภาคตะวันออก th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email praparm@hotmail.com th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative The aim of this project focus on applying research basic knowledge of Epidemiology combine with ecology that promote malaria to prevent and control distribution of malaria disease. This research also use medical biotechnology to increasing the effectiveness and precisely of diagnosis malaria parasites in human, malaria vectors and insecticide resistant. Geographic information system technology was used to determine malaria transmission site that can served the public health officer in term of reduce their workload but increase efficacy for controlling disease in particular area. The data which collected from field trip survey in Trat were analyzed and showed 30 malaria transmission sites (MTSs). The species of malaria vector in MTSs carried Plasmodium vivax was Anopheles dirus. Moreover, Plasmodium vivax that found in both human and An dirus were found double mutation of Y976F and F1076Lin pvmdr1 gene means Plasmodium vivax resistant to Chloroquine. It has no evidence of pvcrt-o mutation. All of infected mosquitoes were found in MTS which classify in B1 of malaria control area, imply that these are high risk of transmission area. None of malaria vectors showed mutation in kdr gene mean no resistant to insecticide. Accordingly, surveillance system should be monitor and control malaria vector and search for carrier of malaria disease in hot spot area to support elimination of malaria in Trat. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account