Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมในวัดที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
พระสงฆ์สูงอายุดำเนินการวิจัยพื้นที่วัดที่คัดสรรในเขตจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสงฆ์
สูงอายุ วัดแก้วน้อย อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 11 รูป และวัดราษฎร์ศรัทธา (วัดท้าย
ดอน) อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 10 รูป และผู้บริหารวัด จำนวน 2 คน เก็บรวบรวม
ข้อมูลโดยการสำรวจลักษณะทางกายภาพของพื้นที่วัด การสัมภาษณ์ผู้บริหารวัดและสอบถาม
พระสงฆ์สูงอายุตามแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นที่มีคุณภาพในเกณฑ์ที่ยอมรับได้วิเคราะห์ข้อมูลโดย
ใช้สถิติเชิงพรรณนา และนำผลการวิเคราะห์ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมในวัด
ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์สูงอายุ
ผลการวิจัย พบว่า พื้นที่ในบริเวณวัดแก้วน้อยและวัดราษฎร์ศรัทธา ที่พระสงฆ์ใช้งานมาก
ที่สุด คือ บริเวณลานวัด ห้องน้ำ และวิหาร/ อุโบสถ และพื้นที่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ
ห้องน้ำ และลานวัด จากการสำรวจสภาพแวดล้อม พบว่า ห้องน้ำไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ
พระสงฆ์สูงอายุ ผู้สูงอายุและผู้พิการ เช่น ไม่มีราวจับช่วยพยุงลุก ไม่มีทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ/
ผู้สูงอายุและจากการศึกษาปัญหาด้านสุขภาพ พบว่า พระสงฆ์สูงอายุมีปัญหาการมองเห็นมากที่สุด
รองลงมาคือ ปัญหาการเคลื่อนไหว นั้น จึงได้ดำเนินการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในวัด บริเวณ
ห้องน้ำ ทั้งวัดแก้วน้อยและวัดราษฎร์ศรัทธา ซึ่งได้คำนึงถึงพื้นที่ที่พระสงฆ์ใช้ในการปฎิบัติกิจวัตร
ประจำวันและความเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด โดยปรับเปลี่ยนพื้นกระเบื้องห้องน้ำ ทางลาดสำหรับ
ผู้สูงอายุและผู้พิการ ราวจับในห้องน้ำ เปลี่ยนสุขภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อการใช้งานของพระสงฆ์สูงอายุ
และผู้สูงอายุ รวมถึงมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ
พบว่า ความรู้ต่อการจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุของพระสงฆ์วัดแก้วน้อย
และวัดราษฎร์ศรัทธา หลังเข้าร่วมการอบรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการอบรมทุกข้อ
จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า การพัฒนาหรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมในวัดที่เอื้อต่อการ
สร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์สูงอายุ เพิ่มเติมในส่วนอื่น ๆ เช่น อุโบสถ ศาลาการเปรียญ ลานวัดและ
ลานจอดรถ และควรมีการนำไปประยุกต์ใช้ในวัดในพื้นที่อื่น ๆ อีกทั้งในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมต่าง
ๆ ควรให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการเนื่องจากผู้สูงอายุจะมีความเคยชินกับการใช้พื้นที่
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาจส่งผลให้เกิดความเครียดกับผู้สูงอายุได้ รวมถึงการออกแบบ
และปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ต้องคำนึงถึงความ
ปลอดภัยเป็นหลัก