DSpace Repository

การพัฒนาแผ่นฟิล์มไคโตซานบรรจุคอลลาเจน

Show simple item record

dc.contributor.author ปิยฉัตร วัฒนชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-02-14T01:59:45Z
dc.date.available 2020-02-14T01:59:45Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3770
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลกระทบของสัดส่วนขององค์ประกอบในการผลิตไฮโดรเจลจากไคโตซาน อันได้แก่ กลีเซอรอล, PVA, PS80, และเอทานอล และผลกระทบของความหนาของแผ่นไฮโดรเจล ต่อคุณสมบัติทางกล ทางกายภาพ และการดูดซึมและการปลดปล่อยคอลลาเจน โดยใช้ fractional factorial designs มาใช้ในการเลือกสภาวะในการทดลอง ทำการขึ้นรูปฟิลม์ไฮโดรเจลด้วยเทคนิค solution casting ที่ 2 ปริมาณคือที่ 20 และ 35 กรัม เพื่อให้ได้ฟิลม์ที่มีความหนาต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่าความหนาของแผ่นไฮโดรเจลขึ้นกับปริมาณของแข็งในส่วนผสมของสารละลายที่ใช้ในการขึ้นรูปไฮโดรเจลและปริมาณสารละลายที่ใช้ขึ้นรูปไฮโดรเจล โดยปริมาณสารละลายไฮโดรเจลที่ 35 กรัม ส่งผลให้ไฮโดรเจลมีความหนามากกว่าปริมาณสารละลายไฮโดรเจลที่ 20 กรัม อยู่ประมาณ 8% ที่อัตราส่วนผสมต่าง ๆ จะไม่ส่งผลต่อสีของแผ่นฟิลม์อย่างมีนัยสำคัญ แต่ความขุ่นใสของแผ่นฟิลม์จะแปรผันตามปริมาณของกลีเซอรอล โดยอัตราส่วนกลีเซอรอลที่สูงจะทำให้ฟิลม์มีความขุ่นเพิ่มขึ้น และเนื่องด้วยโครงสร้างภายในของไฮโดรเจลเป็นแบบร่างแห ไฮโดรเจลที่ปริมาณโครงสร้างร่างแหมากส่งผลให้ไฮโดรเจลมีความแข็งแรงมาก แต่ในทางกลับกันจะทำให้มีช่องว่างภายในไฮโดรเจลน้อย การดูดซึมน้ำและสารละลายคอลลาเจนของจึงน้อย ในขณะที่ไฮโดรเจลที่มีโครงสร้างร่างแหน้อยจะมีความแข็งแรงที่น้อยแต่ความสามารถในการดูดซึมน้ำและสารละลายคอลลาเจนของไฮโดรเจลจะสูง ในแต่ละอัตราส่วนของไฮโดรเจลสามารถดูดซึมสารละลายคอลลาเจนที่ความเข้มข้นเริ่มต้นเดียวกันได้ใกล้เคียงกันทั้งที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 15 และ 30% w/v คือดูดซึมได้ประมาณ 4-5% และ 7-9% ตามลำดับ ไฮโดรเจลที่อัตราส่วนผสมเดียวกันจะมีความสามารถในการดูดซึมสารละลายคอลลาเจนได้สูงขึ้นเมื่อความเข้มข้นสารละลายคอลลาเจนเริ่มต้นสูงขึ้น นั่นคือการดูดซึมคอลลาเจนในสารละลายคอลลาเจนความเข้มข้นเริ่มต้น 30% w/v จะสูงกว่าในสารละลายคอลลาเจนความเข้มข้นเริ่มต้น 15% w/v ในส่วนของการปลดปล่อยคอลลาเจนจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดซึมน้ำของไฮโดรเจล กล่าวคือไฮโดรเจลที่มีโครงสร้างร่างแหมากจะส่งผลให้มีช่องว่างภายในไฮโดรเจลสำหรับการกักเก็บน้ำหรือสารละลายภายในโครงสร้างได้น้อย ทำให้ปลดปล่อยสารละลายออกมาได้น้อยเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากสมบัติทางกายภาพและทางกล ตัวอย่างที่มีอัตราส่วนของ ไคโตซาน: กลีเซอรอล์พอลิไวนิลแอลกอฮอล์: พอลิซอร์เบต 80 เท่ากับ 3 : 7.5 : 4.5 : 0 กรัม เป็นอัตราส่วนที่มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีความแข็งแรง สามารถบวมตัว ดูดซึม และปลดปล่อยคอลลาเจนได้เหมาะสมที่สุด th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การพัฒนาแผ่นฟิล์มไคโตซานบรรจุคอลลาเจน th_TH
dc.title.alternative Development of Chitosan Film Containing Collagen en
dc.type Research th_TH
dc.author.email piyachat.a@eng.buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative This research studied the effect of the chemical compositions using for chitosanbased hydrogel including glycerol, polyvinyl alcohol (PVA), polysorbate 80 (PS80), and ethanol as well as the effect of hydrogel film thickness on the mechanical and physical properties and the absorption and release of collagen. The response surface methodology (RSM) was used to determine the optimum quantity of each composition by implementing the fractional factorial design. The hydrogel films were prepared by a solution casting method at two different casting weights, i.e. 20 and 35 grams, in order to obtain the films with different thickness. It was found that the film thickness depended on the amount of solid in the film as well as the amount of solution used for film casting. The films prepared from 35 grams solution were 8% thicker than those prepared from 20 grams solution. Whilst the film thickness was different, the film color was insignificantly different, but the hydrogel’s haze was increased according to the amount of glycerol. Since hydrogel has a network structure, the hydrogel with high amounts of crosslink has a high strength while having less void for liquid absorption. Oppositely, the hydrogel with low amounts of crosslink has a low strength but high volumes of void for liquid absorption. At both initial collagen concentrations of 15 and 30% w/v, the hydrogel films had a similar ability in collagen absorption, independent of the chemical compositions of the hydrogel. The percent collagen absorption of the hydrogel films from 15 and 30% w/v collagen solutions were 4-5% and 7-9% w/v, respectively. With the same chemical compositions of the hydrogel, its absorption ability depends on the initial collagen concentration. That is the higher absorption was attained at 30% w/v collagen concentration. Collagen release or desorption depended on the structure of the hydrogel. The hydrogel with a higher amount of crosslink has a low void volume to absorb water and hence can release a low amount of collagen. In overall, hydrogel film contained the chitosan : glycerol : PVA : PS80 ratio of 3 : 7.5 : 4.5 : 0 grams is most suitable due to its best properties. en
dc.keyword คอลลาเจน th_TH
dc.keyword แผ่นฟิลม์ไคโตซาน th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account