dc.contributor.author |
เอกรัตน์ วงษ์แก้ว |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-02-05T07:11:33Z |
|
dc.date.available |
2020-02-05T07:11:33Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3763 |
|
dc.description.abstract |
โลหะออกไซด์ทองแดงได้รับความนิยมในการใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับปฏิกิริยาการเผาไหม้
การใช้ควบคู่กับโลหะออกไซด์อื่นในรูปโลหะออกไซด์ผสมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยา ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงเป็นการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาทองแดงออกไซด์ด้วยการใช้ควบคู่กับออกไซด์อื่น ๆ ได้แก่ ซีเรียมออกไซด์เซอร์โคเนียมออกไซด์ เงินออกไซด์ โคบอลต์ออกไซด์เหล็กออกไซด์และ
ไททาเนียมไดออกไซด์ใช้วิธีตกตะกอนในการเตรียมโลหะออกไซด์เดี่ยว และใช้วิธีตกตะกอนร่วมในการเตรียมโลหะออกไซด์ผสม ยกเว้น ไททาเนียมไดออกไซด์ที่ซื้อจากบริษัท และการเติมคอปเปอร์ออกไซด์ลงบนไททาเนียมไดออกไซด์จะใช้วิธี incipient wetness impregnation กำหนดอัตราส่วนโดยน้ำหนักทองแดงต่อโลหะอื่นเป็น 20 ต่อ 80 โลหะออกไซด์และโลหะออกไซด์ผสมถูกวิเคราะห์คุณสมบัติเฉพาะ ได้แก่ พื้นที่ผิวจำเพาะและขนาดรูพรุนเฉลี่ยด้วย
เครื่อง Autosorption 1C โครงสร้างและขนาดผลึกด้วยเครื่อง XRD และการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักด้วยความร้อนด้วยวิธี thermogravimetric analysis (TGA/DTG) ผลการวิเคราะห์ด้วย TGA พบว่าโลหะออกไซด์น้ำหนักคงที่เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 400 องศาเซลเซียส และอยู่ในรูปออกไซด์ยกเว้นเงินออกไซด์เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 400 องศาเซลเซียส จะเกิดการเปลี่ยนจากออกไซด์เป็นโลหะเงิน ดังนั้นในการเตรียมโลหะออกไซด์และ
โลหะออกไซด์ผสมทุกตัวจะเผาที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส ยกเว้นเงินออกไซด์ และโลหะออกไซด์ผสมทองแดง เงิน ที่ถูกเผาที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส ในการทดสอบการดูดซับทางกายภาพ พบว่าไอโซเทอร์ม
ของสารตัวอย่างทั้งหมดอยูในรูปแบบที่ 4 แสดงว่าเป็นวัสดุที่มีรูพรุนขนาดเมโซ ผลการวิเคราะห์ด้วยสมการ BET และ ผล XRD ระบุว่า โลหะออกไซด์ผสมทองแดง ซีเรียม ให้ค่าพื้นที่ผิวจำเพาะสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 114.1 ตารางเมตรต่อกรัม และขนาดผลึกซีเรียมออกไซด์ 6.9 นาโนเมตร โลหะออกไซด์ผสมทุกตัวจะไม่พีคของทองแดงออกไซด์ อาจจะเป็นเพราะทองแดงออกไซด์
มีการกระจายตัวอย่างดี |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล(งบประมาณแผ่นดิน)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
โลหะออกไซด์ |
th_TH |
dc.subject |
เชื้อเพลิงไฮโดรเจน |
th_TH |
dc.subject |
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ |
th_TH |
dc.title |
การศึกษาผลกระทบโลหะออกไซด์ชนิดต่าง ๆ ในตัวเร่งปฏิกิริยาทองแดงต่อการเร่งปฏิกิริยา
การกำจัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณต่ำที่ปะปนในเชื้อเพลิงไฮโดรเจน |
th_TH |
dc.title.alternative |
Effect of various supported oxides of CuO catalyst for the removal of CO contaminated in H2 stream |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
akkarat@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2562 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Copper based catalysts are widely used with oxidation reactions and can be
improved their activity by adding other metal oxides. In this work, various oxides such as
CeO2, ZrO2, Ag2O, Co3O4, Fe2O3, and TiO2 were chosen to incorporate with CuO. The oxides
of each metal were prepared by precipitation and the mixed oxide catalysts were prepared
by co-precipitation method except for titanium dioxide (commercial). Also, the mixed oxide
of copper and titanium was prepared by incipient impregnation. The ratio of copper oxide to
other oxides was 20:80. The catalysts were characterized for their crystalline structure using
X-ray diffraction and for their specific surface area, average pore size using Autosorption 1-C
and thermogravimetric analysis (TGA/DTG) for the weight loss as a function of temperatures.
The TGA results revealed that all oxides were stable at temperature above 400C except for
Ag2O. Ag2O transferred to Ag at temperatures above 400C. Therefore, all oxides and mixed
oxides were calcined at 500C except for Ag2O at 300C. The N2 adsorption isotherms of
oxides and mixed oxides were in Type IV which corresponds to mesoporous materials. The
results from BET and XRD revealed that CuO-CeO2 has the highest specific surface area of
114.1 m2/g and the average crystalline size of CeO2 of 6.95 nm. For every mixed oxide, CuO
peaks were not observed. This may cause from the highly dispersion of CuO in the samples |
en |