Abstract:
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบเครื่องมือพิสูจน์เอกลักษณ์ทางยาโดยใช้กลยุทธ์การตลาดสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาความต้องการที่เหมาะสมของการพัฒนาเครื่องมือพิสูจน์เอกลักษณ์ทางยา การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 15 คน ได้แก่ เภสัชโรงพยาบาล 5 คน เภสัชกรชุมชน 5 คน และอาจารย์เภสัชศาสตร์ 5 คน สุ่มตัวอย่างแบบ purposive non probability sampling ทำการสอบถามสามรอบ ผลการวิจัยยพบว่า 1. ด้านสินค้าหรือความต้องการ
ของลูกค้า ขนาดไม่ควรใหญ่มากเกินไป ไม่ควรเกิน 1 ฟุต ควรมีการใช้งานทีไม่ยุ่งยาก อ่านผลได้แม่นยำ เคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล
อื่นได้ มีความปลอดภัยในการใช้งาน ควรใช้แสงให้สว่างน้อยที่สุด และทำเป็นรูปแบบแอปพลิเคชั่นในมือถือ 2. ด้านราคาหรือความคุ้มค่า ไม่ควรเกิน 10,000 บาท ให้มีผู้สนับสนุนออกค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมยาที่มีอยู่ในประเทศไทย มีการเชื่อมต่อฐานข้อมูลเป็นวงกว้าง 3. ด้านการจัดจำหน่ายหรือความสะดวกในการเข้าถึงสินค้า ควรมีในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยา แผนกเภสัชกรรมควรเป็นเจ้าภาพในการดูแลเครื่องมือ 4. ด้านการสื่อสารให้เข้าถึงลูกค้าหรือการนำข้อมูลให้ลูกค้ารับรู้ ควรมีการอบรมการใช้งาน ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรด้านสาธารณสุข สรุป ทฤษฎีการตลาด 4P ประกอบด้วย สินค้า ราคา สถานที่ การรับรู้ สามารถ
นำมาประยุกต์ใช้ในการค้นหาความต้องการเครื่องมือพิสูจน์เอกลักษณ์ของยา
ได้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สำหรับการเครื่องมือดังกล่าวหาเกิดขึ้นจริงในอนาคต