DSpace Repository

ความชุกของภาวะโลหิตจาง ภาวะขาดธาตุเหล็กและธาลัสซีเมียในกลุ่มผู้สูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.author สานิตา สิงห์สนั่น
dc.contributor.author จิราพร จรอนันต์
dc.contributor.author นัฐพล ประกอบแก้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-01-29T02:16:12Z
dc.date.available 2020-01-29T02:16:12Z
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3747
dc.description.abstract ที่มาและความสำคัญ: โลหิตจางเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุและมีความชุกสูงในทุกภูมิภาคของประเทศไทย สาเหตุของภาวะโลหิตจางใน ผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย คือโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและโลหิตจางจากโรคเรื้อรัง อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่มีความชุกของธาลัสซีเมียข้อมูลความชุกของ ภาวะโลหิตจางและปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุยังคงมีน้อย วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และโลหิตจางจากธาลัสซีเมีย และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจาง ในผู้สูงอายุภาคตะวันออกของประเทศไทย วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดชลบุรี จำนวน 370 คน ที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจสอบพารามิเตอร์ของเซลล์เม็ดเลือดแดงโปรตีน C-reactive ซีรัมเฟอร์ริติน ชนิดของฮีโมโกบิน (Hb typing) และตรวจวิเคราะห์ยีนแฝงธาลัสซีเมีย ผลการศึกษา: ผลการศึกษาในผู้สูงอายุ จำนวน 370 คน จำแนกเป็นเพศชาย จำนวน 78 คน (21.08%) และเพศหญิง จำนวน 292 คน (78.92%) ประเมินภาวะโลหิตจางตามเกณฑ์วินิจฉัยของ WHO พบว่ามีผู้สูงอายุ จำนวน 131 คน (35.41%) มีภาวะโลหิตจาง โดยพบว่า 43.55% เป็นผู้สูงอายุเพศชาย และ 33.22% เป็นผู้สูงอายุเพศหญิง เมื่อพิจารณาตามอายุพบว่า ภาวะโลหิตจางเพิ่มขึ้นจาก 32.17%, 36.61% ถึง 57.14% ในกลุ่มอายุ 60-69 ปี, 70-79 ปีและ > 80 ปีตามลำดับ ศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจางที่พบในผู้สูงอายุ พบว่ามีภาวะโลหิตจางจากธาตุเหล็ก 3.05%, ธาลัสซีเมีย 25.95%, ภาวะโลหิตจางจากโรคเรื้อรัง 17.56% และภาวะโลหิตจางที่ไม่ทราบสาเหตุ 35.11% นอกจากนี้ยังพบปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะโลหิตจางถึง 18.32% สรุป: การศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นข้อมูลภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกรวมถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโลหิตจางและลักษณะทางโลหิตวิทยา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมและดูแลผู้สูงอายุโลหิตจาง อย่างเหมาะสมต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โรคโลหิตจาง
dc.subject ผู้สูงอายุ
dc.subject โรคธาลัสซีเมีย
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.title ความชุกของภาวะโลหิตจาง ภาวะขาดธาตุเหล็กและธาลัสซีเมียในกลุ่มผู้สูงอายุ th_TH
dc.title.alternative Prevalence of anemia, iron deficiency and thalassemia among elder population en
dc.type Research th_TH
dc.year 2562
dc.description.abstractalternative Background: Anemia is a common public health problem in the elderly. Additionally, it has been reported a high prevalence in all regions of Thailand. Most of anemia causes on the elderly are anemia related-iron deficiency and anemia related-chronic disease. However, in areas with prevalence of thalassemia, prevalence information of anemia, and its contributing factors related-anemia on the elderly are still scant. Objective: To determine the prevalence of anemia related-iron deficiency and thalassemia, including contributing factors which associate with anemia on the elderly in eastern Thailand. Method: This study was conducted in elderly people who living in the community of Chonburi. Participants were 370 apparently healthy individuals with aged 60 years old or higher. They were collected data by means of interviews. Blood samples were obtained to determine red blood cell parameters, C-reactive protein, serum ferritin, hemoglobin typing and genetic analysis of thalassemia. Result: Out of the 370 participants, 78 (21.08%) were males and 292 (78.92%) were females. Base on WHO criteria, 131(35.41%) of the participants were identified as anemia. People with anemia was present in 43.55% of males and 33.22 % of females. Within the age group 60-69 years, 70-79 years and> 80 years, we found that anemia increased with age (32.17%, 36.61% and 57.14%, respectively). Factors considered to be significant contributors to anemia were classified as anemia related-iron deficiency (3.05%), thalassemia (25.95%), anemia related chronic disease (17.56%) and unknown cause (35.11).In addition, more than one common factor was found to be contributing factors on elderly with anemia (18.32%).In addition, there are more than one common factor that causes anemia in each elderly person (18.32%). Conclusion: This study provides the information of anemia on the elderly in eastern area, including contributing factors and hematologic features. These data will be useful in appropriate for controlling and caring for an elderly population in the region. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account