dc.contributor.author |
ศรีสุดา นิเทศน์ธรรม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-11-05T07:46:22Z |
|
dc.date.available |
2019-11-05T07:46:22Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3718 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ ได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาแคลเซียมออกไซด์ (CaO) จากวัสดุเหลือทิ้งซึ่งเป็นเปลือกไข่ สำหรับใช้ในปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน ลำดับแรกเป็น
การศึกษาสภาวะในการแคลซิเนชันที่อุณหภูมิ 950 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ภายใต้บรรยากาศของอากาศ (Air) ก๊าซออกซิเจน (O2) และก๊าซไนโตรเจน (N2) ตามลำดับ ในลำดับถัดมาเป็นการศึกษาขั้นตอนการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาระหว่าง มีการทำแคลซิเนชันก่อนการเคลือบฝัง และไม่มีการทำแคลซิเนชันก่อนการเคลือบฝัง รวมถึงอุณหภูมิในการแคลซิเนชันครั้งสุดท้าย และตามด้วยการศึกษาสภาวะในการปรับสภาพด้วยวิธีไฮเดรชันที่อุณหภูมิ 50 และ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 และ 6 ชั่วโมง ตามลำดับ และเคลือบฝังด้วยโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) ที่อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมคลอไรด์และตัวเร่งปฏิกิริยาเท่ากับ 0.25 0.35 และ 0.45 และทดสอบความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน เป็นลำดับสุดท้าย จากผลการวิจัย พบว่าการแคลซิเนชันภายใต้บรรยากาศของก๊าซออกซิเจน รวมถึงวิธีการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาที่ไม่มีการแคลซิเนชันก่อนการเคลือบฝัง และใช้อุณหภูมิในการแคลซิเนชันหลังเคลือบฝังเท่ากับ 700 องศาเซลเซียส ให้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีโครงสร้างผลึกเหมาะสมกับการนำไปใช้งานมากที่สุด คือ แสดงพีคของโพแทสเซียมคลอไรด์ชัดเจนที่สุด ในส่วนของการปรับสภาพตัวเร่งปฏิกิริยาและเคลือบฝังโพแทสเซียมคลอไรด์นั้น ส่งผลให้พื้นที่ผิวจำเพาะ ความแรงเบส และปริมาณหมู่เบสบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาที่ไม่ผ่านการปรับสภาพใด ๆ ซึ่งส่งผลต่อให้ความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาของตัวเร่งปฏิกิริยาที่ผ่านการปรับสภาพและเคลือบฝังโพแทสเซียมคลอไรด์นั้นสูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่ไม่ผ่านการปรับสภาพใด ๆ เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยานั้นยังค่อนข้างต่ำมาก ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
แคลเซียมออกไซด์ |
th_TH |
dc.subject |
การไฮเดรชัน |
th_TH |
dc.subject |
การเคลือบฝัง |
th_TH |
dc.subject |
ตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
|
dc.title |
การเพิ่มความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันในการผลิตไบโอดีเซลของตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ที่เตรียมจากวัสดุเหลือทิ้ง |
th_TH |
dc.title.alternative |
Catalytic activity improvement for biodiesel-transesterification reaction of waste-based heterogeneous catalysts |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.author.email |
srisudas@eng.buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2559 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This research aims to study of the development of calcium oxide (CaO) solid catalysts from egg shell for transesterification reaction. The calcination condition at 950°C for 4 hours under the air, oxygen (O2) and nitrogen (N2) was preliminarily studied. Then, we studied the preparation method of catalysts between calcination before impregnation and without calcination before impregnation, including the final calcination temperature. The hydration, one of the modification method, was conducted at different conditions as following: temperature of 50 and 70°C and retention time of 4 and 6 hours. Moreover, we employed the KCl impregnation at the different KCl/CaO ratios of 0.25, 0.35, 0.45 to improve the basic strength. The results show that calcination under the oxygen and the preparation method without calcination before impregnation with the final calcination temperature of 700°C yielded the optimum crystal structure of catalysts for further utilization. The catalyst modification using hydration and KCl impregnation improved the specific surface, basicity and amount of basic group. The catalyst activity of the derived catalyst was consequently improved comparing to CaO without any modification. However, the catalyst activity was rather low and need to be further studied. |
en |