DSpace Repository

โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดชันชันโรง

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฐธัญ เจริญศรีวิไลวัฒน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-10-07T08:42:10Z
dc.date.available 2019-10-07T08:42:10Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3696
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อตั้งตำรับผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดชันของชันโรงที่ทราบปริมาณ สารสกัดที่แน่นอน และมีความคงตัวที่ดี วิธีการดำเนินการวิจัย: ชันของชันโรงถูกสกัดด้วยวิธีการหมักด้วย เอทานอลและกำจัดเอาไขออกด้วยเฮกเซน หาปริมาณสารสำคัญแอลฟ่าแมงโกสติน ด้วยวิธีโครมาโตกราฟี สมรรถนะสูง และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี diphenylpicryhydrazyl scavenging เตรียมตำรับน้ำยา บ้วนปากและยาสีฟันที่ใส่สารสกัดชันของชันโรง ศึกษาความคงตัวของตำรับที่อุณหภูมิ 30 องศาเซสเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60% (สภาวะปกติ) และอุณหภูมิ 45 องศาเซสเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75% (สภาวะเร่ง) เป็นเวลา 12 เดือน ประเมินลักษณะทางกายภาพ ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าร้อยละที่ระบุไว้ในฉลาก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ผลการศึกษาวิจัย: ตำรับที่มีสารสกัดชันของชันโรงจะมีสีเหลือง เมื่อเก็บไว้มากกว่า 6 เดือนจะมีสีเหลืองเข้มข้น ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำยาบ้วนปากอยู่ในช่วง 5.87 – 6.15 และลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ในช่วง 4.60 – 5.01 เมื่อเก็บไว้นาน 6 เดือน ร้อยละที่ระบุไว้ในฉลากของน้ำยาบ้วนปาก ลดลงจากช่วงร้อยละ 101 – 102.9 เป็นร้อยละ 85.4 – 93.3 เมื่อเก็บไว้ในสภาวะเร่งเป็นเวลา 6 เดือน น้ำยาบ้วนปากแสดงค่าร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระอยู่ในช่วง ร้อยละ 20.2 – 79.5 ต ารับยาสีฟันและเจล ทาแผลในปาก มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วง 7.62 – 7.93 และ 6.63 – 7.25 ตามลำดับ ร้อยละที่ระบุ ไว้ในฉลากของยาสีฟันและเจลทาแผลในปาก ลดลงจากช่วงร้อยละ 99 – 102.1 และ 105.9 – 109.1 อยู่ ในช่วง ร้อยละ 79.1 – 81 และ 88.2 – 90.3 เมื่อเก็บไว้นาน 6 เดือน ที่สภาวะเร่ง ค่า IC50 ตำรับยาสีฟัน และเจลทาแผลในปาก อยู่ในช่วง 73.01 – 488.15 และ 75.72 – 490.69 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เมื่อเก็บไว้ ในทั้งสองสภาวะเป็นเวลา 6 เดือน สรุปผลการวิจัย: คณะผู้จัยสามารถเตรียมน้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟันและ เจลทาแผลในปากที่มีสารสกัดชันชันโรงที่ทราบปริมาณสารสกัดได้สำเร็จมีความคงตัวที่ดีในระยะเวลา 6 เดือน th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณเงินแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดชันชันโรง th_TH
dc.title.alternative Development of mouth care products from the extract of stingless bee propolis en
dc.type Research
dc.author.email natthan@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562
dc.description.abstractalternative The aim of this study was to formulate month care product containing certainly amount of stingless’s bee propolis extract with appropriate stability. Materials and Method: Stingless’s bee propolis was macerated in ethanol and removed excess wax using hexane. The amount of alpha-mangostin in extract was analyzed using high performance liquid chromatography. The antioxidant activity was perform by diphenylpicryhydrazyl scavenging assay. The formulations of mouthwashes and toothpastes were prepared with various concentration of stingless’s bee propolis extract. The stability of formulation was investigate in 30 ºC 60% RH (normal condition) and 45 ºC 75% RH (accelerated condition) for 12 months. The physical appearance, pH, label amount (%) and antioxidant activity were evaluated. Results: The formulation of mouth care product contained the extract exhibited yellow color. When storaged more than 6 month the color become deeper yellow. The pH of mouthwash was in the range of 5.87 – 6.15 and decrease statistically significant to the range of 4.60 – 5.01 in 6 months. The label amount (%) decreased from the range of 101 – 102.9% to 85.4 – 93.3% when kept in accelerated condition for 6 months. The antioxidant activity of mouthwash still maintained within 6 months which showed the inhibition (%) in the range of 20.2 – 79.5%. The pH of toothpaste and gel was in the range of 7.62 – 7.93 and 6.63 – 7.25, respectively. The label amount (%) of toothpaste and gel decreased from the range of 99 – 102.1% and 105.9 – 109.1% to 79.1 – 81 and 88.2 – 90.3 %, respectively at 6 month. The IC50 of toothpaste and gel were in the range of 73.01 – 488.15 and 75.72 – 490.69 mg/ml when kept in accelerated condition for 6 months. Conclusion: The formulation of month care products containing certainly amount of stingless’s bee propolis extract were successfully prepared and showed appropriate stability within 6 month. en
dc.keyword น้ำยาบ้วนปาก th_TH
dc.keyword ยาสีฟัน th_TH
dc.keyword เจลทาแผลในปาก th_TH
dc.keyword ชันชันโรง th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account