Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อตั้งตำรับผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดชันของชันโรงที่ทราบปริมาณ สารสกัดที่แน่นอน และมีความคงตัวที่ดี วิธีการดำเนินการวิจัย: ชันของชันโรงถูกสกัดด้วยวิธีการหมักด้วย เอทานอลและกำจัดเอาไขออกด้วยเฮกเซน หาปริมาณสารสำคัญแอลฟ่าแมงโกสติน ด้วยวิธีโครมาโตกราฟี สมรรถนะสูง และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี diphenylpicryhydrazyl scavenging เตรียมตำรับน้ำยา บ้วนปากและยาสีฟันที่ใส่สารสกัดชันของชันโรง ศึกษาความคงตัวของตำรับที่อุณหภูมิ 30 องศาเซสเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60% (สภาวะปกติ) และอุณหภูมิ 45 องศาเซสเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75% (สภาวะเร่ง) เป็นเวลา 12 เดือน ประเมินลักษณะทางกายภาพ ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าร้อยละที่ระบุไว้ในฉลาก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ผลการศึกษาวิจัย: ตำรับที่มีสารสกัดชันของชันโรงจะมีสีเหลือง เมื่อเก็บไว้มากกว่า 6 เดือนจะมีสีเหลืองเข้มข้น ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำยาบ้วนปากอยู่ในช่วง 5.87 – 6.15 และลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ในช่วง 4.60 – 5.01 เมื่อเก็บไว้นาน 6 เดือน ร้อยละที่ระบุไว้ในฉลากของน้ำยาบ้วนปาก ลดลงจากช่วงร้อยละ 101 – 102.9 เป็นร้อยละ 85.4 – 93.3 เมื่อเก็บไว้ในสภาวะเร่งเป็นเวลา 6 เดือน น้ำยาบ้วนปากแสดงค่าร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระอยู่ในช่วง ร้อยละ 20.2 – 79.5 ต ารับยาสีฟันและเจล ทาแผลในปาก มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วง 7.62 – 7.93 และ 6.63 – 7.25 ตามลำดับ ร้อยละที่ระบุ ไว้ในฉลากของยาสีฟันและเจลทาแผลในปาก ลดลงจากช่วงร้อยละ 99 – 102.1 และ 105.9 – 109.1 อยู่ ในช่วง ร้อยละ 79.1 – 81 และ 88.2 – 90.3 เมื่อเก็บไว้นาน 6 เดือน ที่สภาวะเร่ง ค่า IC50 ตำรับยาสีฟัน และเจลทาแผลในปาก อยู่ในช่วง 73.01 – 488.15 และ 75.72 – 490.69 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เมื่อเก็บไว้ ในทั้งสองสภาวะเป็นเวลา 6 เดือน สรุปผลการวิจัย: คณะผู้จัยสามารถเตรียมน้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟันและ เจลทาแผลในปากที่มีสารสกัดชันชันโรงที่ทราบปริมาณสารสกัดได้สำเร็จมีความคงตัวที่ดีในระยะเวลา 6 เดือน