Abstract:
ผึ้งชันโรงเป็นผึ้งที่มีขนาดเล็ก และไม่มีเหล็กใน ที่เกษตรกรในเขตภาคตะวันออก ของประเทศไทยนิยมเลี้ยงเพื่อประโยชน์ในการผสมเกสรช่วยขยายพันธุ์พืชผล น้ำผึ้งนั้นได้มี รายงานการใช้ทางยามาเป็นเป็นเวลานาน เช่น ใช้เพื่อสมานแผล มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น การศึกษาใน ประเทศไทยรวมทั้งต่างประเทศส่วนมากเป็นการศึกษาจากผึ้งสายพันธุ์ที่มีเหล็กใน ดังนั้น การวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำผึ้งจากผึ้งชันโรง สายพันธุ์ขนเงิน วิธีการและผลการทดลอง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าน้ำผึ้งที่ได้จากป่าชายเลนนั้น มีฤทธิ์ สูงกว่าน้ำผึ้งที่ได้จากสวนผลไม้และน้ำผึ้งจิตรลดา มีค่า IC50 เท่ากับ 19.82±1.82, 62.27±3.95 % (w/v) และไม่สามารถหาค่าได้ ตามลำดับ โดย DPPH assay และน้ำผึ้งจากทุกแหล่งมีฤทธิ์ใน การต้านการอักเสบ ด้วยวิธี Proteinase inhibitory assay และ มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของ ต่อเชื้อ S. aureus และ S. epidermidis ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก และยับยั้งการสร้างแอดวานซ์ ไกลเคชันเอนด์โพรดัคท์ โดยน้ำผึ้งจิตรลดามีความสามารถในการได้สูงกว่าน้ำผึ้งจากอีก 2 แหล่ง สรุปและอภิปราย พบฤทธิ์ของการต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ยับยั้งการ เจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก และฤทธิ์ยับยั้งการสร้างแอดวานซ์ไกลเคชันเอนด์ โพรดัคท์ของน้ำผึ้งจากสวนผลไม้ ป่าชายเลนและน้ำผึ้งจิตรลดา โดยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจะพบ สูงสุดในน้ำผึ้งจากชันโรงที่ได้จากป่าชายเลน ส่วนฤทธิ์อื่น ๆ พบว่าน้ำผึ้งจิตรลดามีแนวโน้มของฤทธิ์ สูงกว่า