Abstract:
การศึกษาพันธุศาสตร์เซลล์ของวงศ์ย่อยปลาบู่ (Gobiinae) ในประเทศไทย 8 ชนิด ได้แก่ ปลาบู่กุ้ง ยักษ์ (Amblyeleotris sp.) ปลาบู่หัวโต (Acentrogobius viridipunctatus) ปลาบู่แก้มตกสะเก็ด (Aulopareia janetae) ปลาบู่หินดำ (Butis amboinensis) ปลาตีน (Glossogobius giuris) ปลาบู่ทราย แก้มจุดฟ้า (Valenciennea sexguttata) ปลาบู่ทรายเส้นชมพู (V. muralis) และปลาบู่ทรายแก้มขีดฟ้า (V. strigata) เตรียมโครโมโซมจากไตด้วยวิธีการบดขยี้เซลล์ และการเพาะเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำการย้อมสี โครโมโซมแบบธรรมดาและแถบสีแบบนอร์ ผลการศึกษาพบว่ามีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์เท่ากับ 46, 50, 50, 46, 46, 44, 44 และ 44 แท่ง ตามลำดับ มีจำนวนโครโมโซมพื้นฐานเท่ากับ 82, 88, 100, 46, 46, 46, 44 และ 48 ตามลำดับ สามารถจัดสูตรคาริโอไทป์ ดังนี้ ปลาบู่กุ้งยักษ์ (2sm + 34a + 10t), ปลาบู่หัวโต (2sm + 36a + 12t), ปลาบู่แก้มตกสะเก็ด (12sm + 12sm + 26a), ปลาบู่หินด า (46t), ปลาตีน (44t), ปลาบู่ทราย แก้มจุดฟ้า (2m + 42t), ปลาบู่ทรายเส้นชมพู (44t) และปลาบู่ทรายแก้มขีดฟ้า (2m + 2a + 40t) ตรวจไม่พบ ความแตกต่างของของคาริโอไทป์ระหว่างปลาบู่เพศผู้และเพศเมีย การย้อมแถบสีแบบนอร์พบนอร์ 2 ตำแหน่งใน ปลาบู่ทุกชนิด ข้อมูลทางพันธุศาสตร์ระดับเซลล์ที่ได้นี้แสดงถึงความแปรผันทางโครโมโซมของปลาที่ศึกษา ทั้งภายในสกุลและระหว่างสกุลที่ซึ่งมีความใกล้ชิดกัน ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นรายงานพันธุศาสตร์ ระดับเซลล์ครั้งแรกของปลาปลาบู่กุ้งยักษ์ ปลาบู่หัวโต ปลาบู่แก้มตกสะเก็ด ปลาบู่หินดำ ปลาตีน ปลาบู่ทราย แก้มจุดฟ้า ปลาบู่ทรายเส้นชมพู และปลาบู่ทรายแก้มขีดฟ้า การศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางชีววิทยา และความหลากหลายทางพันธุกรรมในปลาของประเทศไทย ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับองค์ความรู้ ด้านอนุกรมวิธาน พันธุศาสตร์ วิวัฒนาการ และชีววิทยาโมเลกุล