Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมชุดความรู้ที่จำเป็นในการพฒันารูปแบบมาตรฐานวชิาชีพ และ
นำเสนอแนวทางพฒันามาตรฐานวชิาชีพบรรณารักษ์สำหรับบรรณารักษ์ไทยต่อองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องให้พิจารณานำไปใช้ประโยชน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบรรณารักษ์จากห้องสมุดประเภทต่าง ๆ
ทั่วประเทศ จำนวน 576 คน และผู้ทรงคุณวุฒ จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการ ประชุม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความจำเป็นที่จะตอ้งมีมาตรฐานวชิาชีพ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมว่าจำเป็นต้องมี การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพบรรณารักษ์และประกาศใช้ในระดับ
มากที่สุด สอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนที่เห็นว่าบรรณารักษ์ไทยควรจะมีมาตรฐานวิชาชีพ 2. รูปแบบที่เหมาะสมของมาตรฐานวิชาชีพบรรณารักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่าควรให้มี พระราชบัญญัติวิชาชีพ มีใบประกอบวิชาชีพที่มีความศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ และกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพบรรณารักษ์ต้องมีคุณวุฒุดา้นบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ โดยมีองค์กรวิชาชีพเป็นผู้กำกับดูแล 3. ความคาดหวังในบทบาทของมาตรฐานวิชาชีพ ในภาพรวมพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามคาดหวังว่า มาตรฐานวิชาชีพจะช่วยคุ้มครองผู้ประกอบอาชีพบรรณารักษ์ให้สามารถผลักดันภารกิจด้านการอ่านและการ บริการสารสนเทศแก่สังคมความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาวิชาชีพให้ดำรงอยู่ได้ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิคือ มาตรฐานวิชาชีพจะสร้างขวัญกำลังใจให้บรรณารักษ์มีความภูมิใจในวิชาชีพและช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพบัณฑิต