Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการดำเนินการส่งเสริม จัดการเรียนรู้จาก
การทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขของการส่งเสริมการจัดเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก และ 3) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการจัด เรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของ สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) คือตัวแทนของ สถานประกอบการทั้ง 5 แห่งและตัวแทนสถาบันการศึกษาทั้ง 5 แห่ง รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยใช้วิธี เชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และสังเคราะห์ ยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการจัดเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคม อุตสาหกรรมภาคตะวันออกและได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญโดยการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคม อุตสาหกรรมภาคตะวันออก สามารถจำแนกได้ 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านการเรียนการ สอน 3) ด้านผู้เรียน 4) ด้านอาจารย์ผู้สอน 5) ด้านสถานประกอบการ และ 6) ด้านการเงิน และการ ดำเนินการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาค ตะวันออก สามารถสรุปได้ว่า มีการดำเนินการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานที่ใช้ในการจัดการ เรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ การฝึกงาน ระบบทวิภาคี และสหกิจศึกษา 2. ปัจจัย เงื่อนไขและแนวทางของการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกที่เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนำไปใช้ในการ พัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านหลักสูตร 2. ด้านการเรียนการสอน 3. ด้านผู้เรียน 4. ด้านอาจารย์ผู้สอน 5. ด้านสถานประกอบการ 6. ด้านสถานศึกษา 7. ด้านงบประมาณ 3. ยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประกอบไปด้วย (3.1) วิสัยทัศน์ มุ่งส่งเสริมการจัดการเรียนรู้จาก การทำงานเป็นฐาน (3.2) พันธกิจ ส่งเสริมให้องค์กรดำเนินการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐาน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนากำลังคน (3.3) เป้าประสงค์ (3.3.1) ได้ ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการและสถานศึกษา (3.3.2) ได้แนวทางที่ช่วยส่งเสริมให้การจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานประสบความสำเร็จ (3.4) ประเด็นยุทธศาสตร์ 7 ด้าน 7 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ (3.4.1) ด้านหลักสูตร ยุทธศาสตร์ คือ การร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะทางวิชาชีพและการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะ ทางวิชาชีพโดยเน้นการมีส่วนร่วม (3.4.2) ด้านการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ คือ การจัดการเรียน การสอนที่มุ่งเน้นสมรรถนะวิชาชีพ
และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาคทฤษฎีควบคู่การ ปฏิบัติงาน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) (3.4.3) ด้านการพัฒนาผู้เรียน ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะวิชาชีพที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆ และ การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ (3.4.4) ด้านครูผู้สอน ครูฝึก ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาสรรถนะและประสบการณ์การจัดการเรียนรู้/ ฝึกงานสำหรับครูผู้สอน/ ครูฝึก/ พี่เลี้ยง และการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ/ การนิเทศการฝึกปฏิบัติงาน (3.4.5) ด้านสถานประกอบการยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาความพร้อมของสถานประกอบการให้เป็นแหล่งฝึกงานวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนา/ ปรับปรุงระบบและกลไกในการฝึกงาน (3.4.6) ด้านสถานศึกษา ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาความพร้อมของครู/ บุคลากรใน สถานศึกษา และการพัฒนา/ ปรับปรุงระบบและกลไกในการฝึกงาน (3.4.7) ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานระหว่างสถานศึกษา สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพ ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรที่เกี่ยวข้อง