DSpace Repository

การศึกษาวงจรชีวิตของแมงกะพรุนในธรรมชาติ

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริวรรณ ชูศรี
dc.contributor.author ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน
dc.contributor.author วิรชา เจริญดี
dc.contributor.author สมรัฐ ทวีเดช
dc.contributor.author วิไลวรรณ พวงสันเทียะ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-07-30T02:23:09Z
dc.date.available 2019-07-30T02:23:09Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3658
dc.description.abstract ทำการศึกษาวงจรชีวิตของแมงกะพรุนถ้วย Catostylus townsendi (Mayer, 1915) ใน ธรรมชาติตั้งแต่ระยะไซพิสโตม่า (Scyphistoma) หรือโพลิป (Polyp) จนถึงระยะที่มีรูปร่างแบบ เมดูซ่า (Medusa) บริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดตราด ทำการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 3 สถานี คือ คลองไม้รูด คลองเขาล้าน และคลองมะนาว สถานีละ 2 จุด คือ ในทะเล (บริเวณปากคลอง) และในคลอง ทำการออกเก็บตัวอย่างเป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ปี 2015 ถึงเดือนกันยายน ปี 2016 ความถี่ในการออกเก็บตัวอย่างทุก ๆ 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง ทำการเก็บตัวอย่างระยะไซพิสโตม่า โดยใช้วัสดุล่อการลงเกาะ 4 ชนิด คือ ไม้ไผ่ เปลือกหอยนางรม แผ่นคอนกรีตอัดสำเร็จ และแผ่น กระจก ขนาดของวัสดุ (กว้าง x ยาว) 4 x 4 เซนติเมตร นำมาผูกติดกับแท่น ตามระดับความลึกของ น้ำทะเล 3 ระดับ คือ ผิวน้ำ กลางน้ำ และพื้นน้ำ และทำการเก็บตัวอย่างระยะ ไซพิสโตม่า โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนขนาดตาข่าย 300 ไมโครเมตร ลากในแนวดิ่ง และแนวนอน และระยะที่มีรูปร่างแบบ เมดูซ่า จะทำการเก็บตัวอย่างโดยใช้สวิง ขนาดตาข่าย 1 มิลลิเมตร ในการเก็บตัวอย่าง ผลการศึกษา การใช้วัสดุล่อการลงเกาะของไซพิสโตม่า พบว่าทุกชุดของวัสดุล่อการลงเกาะ และทุกชุดสถานีไม่พบการลงเกาะของไซพิสโตม่าแมงกะพรุนถ้วย การเก็บตัวอย่างระยะเอฟิร่า และระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2015 ถึงเดือนกรกฎาคม ปี 2016 ไม่พบเอฟิร่าและระยะที่มีรูปร่าง แบบเมดูซ่าในทุกชุดสถานี แต่พบระยะเอฟิร่าและระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่าในเดือนกันยายน ปี 2016 โดยพบเอฟิร่าจำนวน 2 ตัวบริเวณในคลองไม้รูด และพบการรวมตัวของระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่า บริเวณปากคลองมะนาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางร่ม 4.3±1.2 เซนติเมตร น้ำหนัก 50.2±3.2 กรัม และไม่พบการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ (Gonad) th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject แมงกะพรุน th_TH
dc.subject วงจรชีวิตสัตว์ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การศึกษาวงจรชีวิตของแมงกะพรุนในธรรมชาติ th_TH
dc.title.alternative Life cycle of the jellyfish Catostylus sp en
dc.type Research en
dc.year 2561 en
dc.description.abstractalternative Study life cycle of the jellyfish Catostylus townsendi (Mayer, 1915) in nature from Polyp stage to Medusa stage in coast of Trat provice. Sample was collected on three stations in Khlong Mai Rut, Khlong Khao Lan and Khlong Ma Nao. On each station, sampling was carried out 2 separate sites in the sea and the canal. Samplings were carried out one year between November 2015 to September 2016, two times per month. The present study, focus on Scyphistoma or Polyp settlement on substrates choice in the sea. In the experimental set-up, wood(bamboo), shells(oysters), concrete and glass were cut in plates of 4X4 cm., placed in nature, with the lure tied to the podium at three levels: pelagic, middle and benthic. Sampling of Ephyra stage was done using a plankton net with a mash size 300 microns in vertical and horizontal. Sampling of Medusa stage was done using a net with a mash size 1 millimeters. The results showed that have not Scyphistoma of Catostylus townsendi every substrate. Sampling of Ephyra and Medusa did not found sample every station in November 2015 to July 2016 but in September 2016 founded 2 Ephyra and Medusa. Ephyra founded near Khlong Mai Rut and Medusa founded near Khlong Ma Nao. Sampling of jellyfish were 4.3 ± 1.2 centimeter of diameter, weight of 50.2 ± 3.2 gram and not found development of reproductive organs. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account