Abstract:
ทำการศึกษาวงจรชีวิตของแมงกะพรุนถ้วย Catostylus townsendi (Mayer, 1915) ใน ธรรมชาติตั้งแต่ระยะไซพิสโตม่า (Scyphistoma) หรือโพลิป (Polyp) จนถึงระยะที่มีรูปร่างแบบ เมดูซ่า (Medusa) บริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดตราด ทำการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 3 สถานี คือ คลองไม้รูด คลองเขาล้าน และคลองมะนาว สถานีละ 2 จุด คือ ในทะเล (บริเวณปากคลอง) และในคลอง ทำการออกเก็บตัวอย่างเป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ปี 2015 ถึงเดือนกันยายน ปี 2016 ความถี่ในการออกเก็บตัวอย่างทุก ๆ 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง
ทำการเก็บตัวอย่างระยะไซพิสโตม่า โดยใช้วัสดุล่อการลงเกาะ 4 ชนิด คือ ไม้ไผ่
เปลือกหอยนางรม แผ่นคอนกรีตอัดสำเร็จ และแผ่น กระจก ขนาดของวัสดุ
(กว้าง x ยาว) 4 x 4 เซนติเมตร นำมาผูกติดกับแท่น ตามระดับความลึกของ
น้ำทะเล 3 ระดับ คือ ผิวน้ำ กลางน้ำ และพื้นน้ำ และทำการเก็บตัวอย่างระยะ
ไซพิสโตม่า โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนขนาดตาข่าย 300 ไมโครเมตร ลากในแนวดิ่ง และแนวนอน และระยะที่มีรูปร่างแบบ เมดูซ่า จะทำการเก็บตัวอย่างโดยใช้สวิง ขนาดตาข่าย 1 มิลลิเมตร ในการเก็บตัวอย่าง ผลการศึกษา การใช้วัสดุล่อการลงเกาะของไซพิสโตม่า พบว่าทุกชุดของวัสดุล่อการลงเกาะ และทุกชุดสถานีไม่พบการลงเกาะของไซพิสโตม่าแมงกะพรุนถ้วย การเก็บตัวอย่างระยะเอฟิร่า และระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2015 ถึงเดือนกรกฎาคม ปี 2016 ไม่พบเอฟิร่าและระยะที่มีรูปร่าง แบบเมดูซ่าในทุกชุดสถานี แต่พบระยะเอฟิร่าและระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่าในเดือนกันยายน ปี 2016 โดยพบเอฟิร่าจำนวน 2 ตัวบริเวณในคลองไม้รูด และพบการรวมตัวของระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่า บริเวณปากคลองมะนาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางร่ม 4.3±1.2 เซนติเมตร น้ำหนัก 50.2±3.2 กรัม และไม่พบการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ (Gonad)