Abstract:
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและวิธีการงาน จดหมายเหตุ ทําให้มีการจัดเก็บจดหมายเหตุในรูปแบบดิจิทัล ที่เรียกว่า “จดหมายเหตุดิจิทัล” ตลอดจนเรียกจดหมาย เหตุมหาวิทยาลัยว่า “จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัล” กระบวนการและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงนี้คือ การเปลี่ยนแปลง จากการจัดทําเอกสารจดหมายเหตุที่เป็นกระดาษให้เป็นเอกสารจดหมายเหตุที่เป็นดิจิทัล (Born- Digital) และการ แปลงผัน (Digitization) จากสื่อต่าง ๆ เช่น กระดาษ ฟิล์ม เป็นต้น ให้เป็นดิจิทัล หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัล ต้องสร้างเครือข่ายนักจดหมายเหตุกับกลุ่มต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการและการยอมรับมาตรฐานร่วมกัน (Kalb et al., 2013) การวิจัยนี้ศึกษาการแสวงหามาตรฐานร่วมกันโดยวิธีการเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในหอ จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัล จํานวน 22 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 4 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง ของเคนดอล (Kendall's coefficient of concordance) .049 ที่ค่านัยสําคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีมติความเห็นร่วมกันคือ 1. วัตถุประสงค์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหอจดหมายเหตุเพื่อช่วยให้นัก จดหมายเหตุสร้างกรอบงานร่วมกัน และพัฒนางานร่วมกับนักพัฒนาชุดคําสั่งได้ 2. หน้าที่สําคัญของนักจดหมายเหตุ ในบริบทการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคือการทํางานที่รวดเร็วให้ทันการ เปลี่ยนแปลงให้สามารถสงวนรักษาวัสดุจดหมายเหตุดิจิทัลให้มีอายุยาวนาน ที่สามารถเข้าถึงได้ในอนาคต 3. ระบบ สารสนเทศของหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่ต้องทํางานร่วมกันนั้น เอกสารจดหมายเหตุดิจิทัลต้องมีลักษณะที่ (a) สามารถค้นคืนได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) ตลอดอายุของ การสงวนรักษา (b) สามารถกู้คืนและเข้าถึงได้ ที่สามารถเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ตลอดอายุเอกสาร (c) สามารถนําเข้าระบบได้จํานวนมากด้วยวิธีการประมวลผล ที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (d) สามารถปรับเปลี่ยนได้กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในทุกมิติ และ (e) สามารถกู้คืนจากความสูญเสีย เช่น ภัยพิบัติ ได้ 4. มาตรฐานสถาปัตยกรรมควรมีมาตรฐานในการสงวนรักษาเอกสาร จดหมายเหตุดิจิทัลให้มีอายุยืนนานอย่างไม่มีกําหนด ด้วยการดําเนินการตามมารฐาน AS 4390 หรือมาตรฐาน DoD 5015.2-STD 5. มาตรฐานระบบควรเป็นมาตรฐานที่เครือข่ายหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลสามารถทํางาน ร่วมกันได้ คือ เกณฑ์วิธี (Protocol) และสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ และ 6. เทคโนโลยีที่ใช้สร้างหอจดหมายเหตุ ดิจิทัลควรสร้างบนพื้นฐาน OAIS (Open Archival Information Systems) และสามารถบูรณาการเข้ากับระบบ ห้องสมุด หากห้องสมุดพัฒนาระบบหลักด้วย XML (Extensible Markup Language) เพราะสามารถทํางานกับ OAIPMH (Open Archives Initiative-Protocol for Metadata Harvesting) ได้ ส่วนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของหอ จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลนั้น หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่มีบทบาทสําคัญทั้งด้านการแลกเปลี่ยน แนวคิด วิชาการ และประสบการณ์ ความร่วมมือในเชิงภาคี เช่น การประชุม การส่งต่อข่าวสาร และการติดต่อกันด้วย เหตุผลความคุ้นเคย ชอบพอกัน ได้แก่ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยรังสิต หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล จากการอภิปรายผลพบว่าสอดคล้อง กับมาตรฐานสากลทุกประเด็น ข้อเสนอแนะการวิจัยคือการวิจัยขั้นต่อไปควรเป็นการวิจัยเพื่อนําไปสู่การพัฒนา หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลร่วมกันในลักษณะการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เป็นรายประเด็น เช่น มาตรฐาน สถาปัตยกรรมหรือเทคโนโลยี เป็นต้น เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ และข้อเสนอแนะจากเครือข่ายหอจดหมาย เหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัล คือความชัดเจนที่ได้จากการวิเคราะห์เครือข่ายหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลนําไปสู่การ สร้างองค์กรร่วมกัน เช่น สมาพันธ์ เพื่อกําหนดทิศทางการพัฒนาหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยดิจิทัลร่วมกันต่อไป