DSpace Repository

การประเมินผลกระทบจากการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมในเด็กนักเรียน จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author นันทพร ภัทรพุทธ
dc.contributor.author นิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:29Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:29Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/364
dc.description.abstract การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลแบบภาคตัดขวาง โดยทำการประเมินผลกระทบจากการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหย ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยของเด็กนักเรียนในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2553 โดยใช้การตรวจกำกับในสิ่งแวดล้อมและชีวภาพ และการสอบถามสัมภาษณ์ เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 86 คน จากโรงเรียน 3 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอุตสาหกรรม จ.ชลบุรี ผลการวิจัยพบว่าค่าวสัดส่วนของสาร BTEX ที่ตรวจวัดได้เปรียบเทียบของแต่ละสถานีตรวจวัดมีค่าเท่ากับ(1.0: 5.8 : 1.4 : 1.3 ), (1.0: 12 : 1.6 :1.6),(1.51 : 2.2 : 1.7 : 1.0) ของสถานีโรงเรียนที่ 1 , 2 และ3 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยปริมาณการรับสัมผัสสสาร BTEX ในเด็กนักเรียนทั้ง 3 โรง มีค่าเท่ากับ 1.4 ± 0.33, 7.72 ± 2.02 , 15.99 ± 2.24 และ 1.55 ± 0.31 ไมโครกรัม/ ลูกบาศก์เมตรตามลำดับ) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเปียร์สันระหว่างปริมาณความเข้มข้นของสาร BTEX ในบรรยากาศกับปริมาณการรับสัมผัสในเด็กนักเรียน พบว่า มีความสัมพันธืกันอย่างมีนัยสพคัญทาสถิติที่ p ≤ 0.001 ค่าเฉลี่ยของระดับกรดมิวโคนิค ซึ่งเป็นสารเมาตาบอไลท์ของสารเบนซีนในปัสสาวะของเด็กทั้ง 3 โรง มีค่าเท่ากับ 47.34± 7.12 ไมโครกรัม/กรัม ครีเอทินีน อย่างไรก็ตามไม่มีความสัมพัน์ระหว่างระดับกรดมิวโคนิคในปัสสาวะกับปริมาณการรับสัมผัสสารเบนซีน (rs = 0.3644 , p > 0.05 ) สำหรับอาการตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหย พบว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93.83) มีอาการเพียงเล็กน้อย และร้อยละ 6.17 มีอาการปานกลาง ไม่มีเด็กคนไดที่มีอาการในระดับสูงหรือรุนแรงมาก ค่าความเสีย่งจากการรับสัมผัสสาร BTEX ต่อการเกิดโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคมะเร็งเท่ากับ 2.53 × 10-6, 8.12 ×10-8, 8.42 × 10-7 และ 8.11× 10-7 ตามลำดับ ค่าความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากการรับสัมผัสสารเบนซีนในเด็กนักเรียน มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 1 ในแสน (1× 10 -5) ปัจจัยที่มีผลต่อการรับสัมผัสสสาร BTEX ที่ปนเปื้อน ในสิ่งแวดล้อม ในเดก็ก ได้แก่ ที่ตั้งโรงเรียน, พาหนะที่เด็กใช้เดินทางไปโรงเรียน, ระยะเวลาที่เด็กเรียนในโรงเรียน , ระยทางระหว่างบ้านกกับโรงกลั่นและบ้านกับแหล่งเผาขยะ ปริมาณการรับสัมผัสสาร BTEX ในเด็กในการวิจัยครั้งนี้อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบจากการทบทวนวรรณกรรมของต่างประเทศ แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงแหล่งและปริมาณการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยของเด็กที่เรียนและพักอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เขตอุตสาหกรรม ความแปรผันของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ฤดูกาล สภาพภูมิอากาศ ปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยา (เช่น ความเร็วและทิศทางลม ความชื้น ความกดอากาศ ) ปริมาณการปลอดปล่อยจากโรงงงานอุตสาหกรรม และตำแหน่งการเก็บตัวอย่าง อาจทำให้เกิดความผันแปร ของปริมาณสาร BTEX ดังนั้น จึงควรมีการตรวจติดตามเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของเด็กอย่างต่อเนื่องรวมทั้งควรมีการขยายผลการศึกษาไปยังกลุ่มประชากรเสี่ยงอื่น ๆ ในชุมชนเดียวกันด้วย เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นต้น th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2553 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject นักเรียน - - สุขภาพอนามัย - - ชลบุรี th_TH
dc.subject มลพิษทางอากาศ th_TH
dc.subject สารระเหยอินทรีย์ - - ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม th_TH
dc.title การประเมินผลกระทบจากการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมในเด็กนักเรียน จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2553
dc.description.abstractalternative This study is a cross – sectional survey research . Exposure and assessment health impact to volatile Organic (VOCs), and factors related to VOCs’ exposure among schoolchildren were conducted in Chonburi Province during January – March 2010 by using environment and biological monitoring, and questionnaires. 86 Schoolchildren from 3 primary schools located near the industrial areas were participated in this study. Results showed that BTEX ratio were (1.0: 5.8 : 1.4 : 1.3 ), (1.0: 12 : 1.6 :1.6),(1.51 : 2.2 : 1.7 : 1.0) at school station 1, 2 and 3, respectively. Mean levels of BTEX among schoolchildren was 1.4 ± 0.33, 7.72 ± 2.02 , 15.99 ± 2.24 และ 1.55 ± 0.31 µg/m3 , respectively. A significant correlation was found between measured ambient levels and personal exposure levels of BTEX (p ≤ 0.001 ). The average muconic acid levels, urinary benzene metabolite were 47.34± 7.12 µg/g creatinine. However, no clear association could be found between levels of urinary moronic acid and individual benzene exposure level(rs = 0.3644, p > 0.05 ). For the symptoms associated with VOCs’ exposure, most schoolchildren (93.83%) presented with symptoms. Only 6.17 % of schoolchildren showed a moderate symptom. No one has any serious symptoms. The non – cancer risk (hazard quotient) from exposure to BTEX was 2.53 × 10-6, 8.12 ×10-8 , 8.42 × 10-7 and 8.11× 10-7, respectively. The cancer risk from benzene exposure in children was in the moderate level or equal to 1 hundred- thousandth (1× 10 -5) .Factors related to BTEX exposure included school location, transportation, study time, distance between home and refinery , and home and waste burning site BTEX exposure among schoolchildren in this study was relatively low level, comparing with the literature of countries. However, it indicated the sources and exposure levels ampngs schoolchildren who studied and lived in the industrial areas. Variation of many factors including seasonal factors, climate, meteorology (i.e., wind speed and direction, air pressure, humidity), industrial emission, location of sample collection may cause variation of BTEX levels in the environment . It should have health surveillance programme for schoolchildren continuously. Regarding to the other risk population (i.e.; elder , pregnant ,children <5 yrs) should be concerned and studied in the future. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account