Abstract:
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลแบบภาคตัดขวาง โดยทำการประเมินผลกระทบจากการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหย ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยของเด็กนักเรียนในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2553 โดยใช้การตรวจกำกับในสิ่งแวดล้อมและชีวภาพ และการสอบถามสัมภาษณ์ เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 86 คน จากโรงเรียน 3 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอุตสาหกรรม จ.ชลบุรี
ผลการวิจัยพบว่าค่าวสัดส่วนของสาร BTEX ที่ตรวจวัดได้เปรียบเทียบของแต่ละสถานีตรวจวัดมีค่าเท่ากับ(1.0: 5.8 : 1.4 : 1.3 ), (1.0: 12 : 1.6 :1.6),(1.51 : 2.2 : 1.7 : 1.0) ของสถานีโรงเรียนที่ 1 , 2 และ3 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยปริมาณการรับสัมผัสสสาร BTEX ในเด็กนักเรียนทั้ง 3 โรง มีค่าเท่ากับ 1.4 ± 0.33, 7.72 ± 2.02 , 15.99 ± 2.24 และ 1.55 ± 0.31 ไมโครกรัม/ ลูกบาศก์เมตรตามลำดับ) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเปียร์สันระหว่างปริมาณความเข้มข้นของสาร BTEX ในบรรยากาศกับปริมาณการรับสัมผัสในเด็กนักเรียน พบว่า มีความสัมพันธืกันอย่างมีนัยสพคัญทาสถิติที่ p ≤ 0.001 ค่าเฉลี่ยของระดับกรดมิวโคนิค ซึ่งเป็นสารเมาตาบอไลท์ของสารเบนซีนในปัสสาวะของเด็กทั้ง 3 โรง มีค่าเท่ากับ 47.34± 7.12 ไมโครกรัม/กรัม ครีเอทินีน อย่างไรก็ตามไม่มีความสัมพัน์ระหว่างระดับกรดมิวโคนิคในปัสสาวะกับปริมาณการรับสัมผัสสารเบนซีน (rs = 0.3644 , p > 0.05 ) สำหรับอาการตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหย พบว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93.83) มีอาการเพียงเล็กน้อย และร้อยละ 6.17 มีอาการปานกลาง ไม่มีเด็กคนไดที่มีอาการในระดับสูงหรือรุนแรงมาก ค่าความเสีย่งจากการรับสัมผัสสาร BTEX ต่อการเกิดโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคมะเร็งเท่ากับ 2.53 × 10-6, 8.12 ×10-8, 8.42 × 10-7 และ 8.11× 10-7 ตามลำดับ ค่าความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากการรับสัมผัสสารเบนซีนในเด็กนักเรียน มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 1 ในแสน (1× 10 -5) ปัจจัยที่มีผลต่อการรับสัมผัสสสาร BTEX ที่ปนเปื้อน
ในสิ่งแวดล้อม ในเดก็ก ได้แก่ ที่ตั้งโรงเรียน, พาหนะที่เด็กใช้เดินทางไปโรงเรียน, ระยะเวลาที่เด็กเรียนในโรงเรียน , ระยทางระหว่างบ้านกกับโรงกลั่นและบ้านกับแหล่งเผาขยะ ปริมาณการรับสัมผัสสาร BTEX ในเด็กในการวิจัยครั้งนี้อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบจากการทบทวนวรรณกรรมของต่างประเทศ แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงแหล่งและปริมาณการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยของเด็กที่เรียนและพักอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เขตอุตสาหกรรม ความแปรผันของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ฤดูกาล สภาพภูมิอากาศ ปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยา (เช่น ความเร็วและทิศทางลม ความชื้น ความกดอากาศ ) ปริมาณการปลอดปล่อยจากโรงงงานอุตสาหกรรม และตำแหน่งการเก็บตัวอย่าง อาจทำให้เกิดความผันแปร ของปริมาณสาร BTEX ดังนั้น จึงควรมีการตรวจติดตามเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของเด็กอย่างต่อเนื่องรวมทั้งควรมีการขยายผลการศึกษาไปยังกลุ่มประชากรเสี่ยงอื่น ๆ ในชุมชนเดียวกันด้วย เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นต้น