DSpace Repository

การทดลองรูปแบบการจัดห้องเรียนเพื่อส่งเสริมความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียน

Show simple item record

dc.contributor.author อนงค์ วิเศษสุวรรณ์
dc.contributor.author สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์
dc.contributor.author ภรณี อินทศร
dc.contributor.author สมประสงค์ ประสงค์เงิน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:29Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:29Z
dc.date.issued 2533
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/363
dc.description.abstract การทดลองรูปแบบการจัดการห้องเรียนเพื่อส่งเสริมความพร้อม ของเด็กก่อนวัยเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองรูปแบบการจัดห้องเรียน โดยใช้การเสริมแรงทางสังคม ในการสร้างและส่งเสริมความพร้อมแก่เด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นเด็กเล็กในระยะแรกเข้าเรียน โรงเรียนอนุบาลชลบุรี อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2533 จำนวน 14 คน ได้มาจากการสังเกตพฤติกรรมความไม่พร้อมด้านการร้องไห้และการแยกตัว แล้วสุ่มอย่างง่าย เพื่อแยกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มรวบคุม กลุ่มละ 7 คนเด็กในกลุ่มทดลองได้รับการสเสริมแรงทางสังคมจากครู ทันทีที่มีพฤติกรรมความพร้อมคือหยุดร้องไห้และไม่แยกตัว ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลจากครูตามปกติ การดำเนินการทดลอง ใช้เวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน รวม 10 วัน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตพฤติกรรมไม่ร้องไห้และไม่แยกตัว ของเด็กก่อนวัยเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยบันทึกพฤติกรรมช่วงละ 5 นาที ตั้งแต่เวลา 7.30 – 11.00 น. สัปดาห์แรกวันที่1-5 สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 6 -10 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความทแปรปรวนแบบวัดซ้ำ One between subjects variable and one within – subjects variable ผลการทดลองมีดังนี้ 1. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการและระยะเวลาในการทดลอง พฤติกรรมความพร้อมด้านการร้องไห้และการแยกตัว ของเด็กยังคงอยู่ ทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะ 2 สัปดาห์แรกของการมาโรงเรียน 2. ความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียน ในกลุ่มทดลองที่ได้รับการเสริมแรงทางสังคม ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามพบแนวโน้ม ด้านพฤติกรรมความพร้อมด้านการไม่แยกตัวในกลุ่มทดลองดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3. ความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียน ในกลุ่มทดลอง ระยะสัปดาห์แรก ด้านการไม่ร้องไห้มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 31.08 สัปดาห์ที่ 2 ร้อยละ 35.39 ด้านการไม่แยกตัว สัปดาห์แรก มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 57.99 สัปดาห์ที่ 2 ร้อยละ 70.58 แต่อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านความพร้อมของกลุ่มทดลองระยะสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 2 th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2533 มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso TH th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การศึกษาชั้นอนุบาล th_TH
dc.subject การศึกษาปฐมวัย th_TH
dc.subject ห้องเรียน th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การทดลองรูปแบบการจัดห้องเรียนเพื่อส่งเสริมความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียน th_TH
dc.title.alternative An experiment on classroom model conducive to preschool children's readiness EN
dc.type งานวิจัย
dc.year 2533


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account