DSpace Repository

การพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงขนาดจุลภาคร่วมกับอาหารเหลวบ่งชี้การเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ สำหรับตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของซัลโมเนลลากลุ่มที่สามารถเกิดปฏิกิริยา ไทโอซัลเฟตรีดักชั่นได้อย่างรวดเร็ว

Show simple item record

dc.contributor.author อาลักษณ์ ทิพยรัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-07-18T02:08:20Z
dc.date.available 2019-07-18T02:08:20Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3623
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงเชื้อในอาหารเหลวบ่งชี้ในระดับไมโครสเกล เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่ง สำหรับใช้ในการตรวจสอบการปนเปื้อนของซัลโมเนลลาเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์อาหารและบริเวณผลิต โดยมีการพัฒนาสูตรอาหารเหลวบ่งชี้ชนิดใหม่ที่อาศัยหลักการของปฏิกิริยาความสามารถในการผลิต ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ของซัลโมเนลลา ซึ่งสามารถบ่งชี้การปนเปื้อนได้จากการเปลี่ยนสีของอาหาร เหลวในตัวบ่งชี้การเกิดปฏิกิริยาที่เหมาะสม การอ่านผลจากอาหารเหลวบ่งชี้สูตรที่ใช้ไทโอซลัเฟตเป็นสารตั้งต้น ทำให้สามารถจำแนกกลุ่มซัลโมเนลลาที่สามารถใช้ไทโอซัลเฟตออกจากกลุ่มแบคทีเรียที่ไม่ สามารถใช้ ไทโอซัลเฟตได้ เมื่อตรวจวัดสมบัติทางแสงของระบบบ่งชี้แต่ละชนิดในอาหารที่มีการ เพาะเลี้ยงซัลโมเนลลาและแบคทีเรียอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ซัลโมเนลลาโดยวิธีทางสเปคโตรโฟโตรเมตรีด้วยการใช้ความยาวคลื่นแสงที่ 650 นาโนเมตร (ใช้เฟอร์ริกแอมโมเนียมซิเตรทเป็นอินดิเคเตอร์) ตามลำดับสำหรับการทดลองพัฒนาสูตรอาหารเหลวบ่งชี้เบื้องต้นชนิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่มีองค์ประกอบเป็นไทโอซัลเฟตเป็นหลักนั้น พบว่าในการบ่มเป็นเวลา 24 ชั่วโมง สูตรอาหาร TFTOA (องคป์ระกอบหลัก ได้แก่ ไทโอซลัเฟตเฟอร์ริกแอมโมเนียมซิเตรท ทรีฮาโลส ออร์นิธินและอาร์จินีน) มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มการเกิดตะกอนสีดำของไฮโดรเจนซัลไฟด์และค่า OD650 ใน Salmonella Typhi และ Salmonella Anatum และค่อนข้างสูงในซัลโมเนลลาซีโรวาร์อื่น ๆ ที่สามารถใช้ไทโอซัลเฟตได้ ในขณะที่ซัลโมเนลลาซีโรวาร์ทั่ว ๆ ไป สร้างตะกอนสีดำได้ในปริมาณมากในสูตร TFXOA แต่ S. Typhi และ S. Anatum นั้นสร้างตะกอนสีดำได้น้อย นอกจากนี้สูตรอาหารทั้งสองยงัมีความจำเพาะในการคัดเลือกซัล โมเนลลาจากแบคทีเรียแข่งขันอื่น ๆ มากกว่าอาหารในปัจจุบัน เพราะสามารถแยก Citrobacter freundii และ Proteus vulgaris ออกได้ ผลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นในเบื้องต้นว่าวิธีการใหม่ในการตรวจ วิเคราะห์การปนเปื้อนของซัลโมเนลลาเบื้องต้น มีความสะดวกในการวิเคราะห์และให้ผลการทดลอง รวดเร็ว โดยให้ผลเบื้องต้นในอาหารเหลวในวันแรกของการทดสอบและให้ผลเบื้องต้นครั้งที่สองบน อาหารแข็งในวันที่สอง ในขณะที่วิธีการมาตรฐานนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 วันสำหรับให้ผลการทดสอบเบื้องต้นครั้งแรก th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ซัลโมเนลลา th_TH
dc.subject อาหารเหลว th_TH
dc.subject ไฮโดรเจนซัลไฟด์ th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงขนาดจุลภาคร่วมกับอาหารเหลวบ่งชี้การเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ สำหรับตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของซัลโมเนลลากลุ่มที่สามารถเกิดปฏิกิริยา ไทโอซัลเฟตรีดักชั่นได้อย่างรวดเร็ว th_TH
dc.title.alternative Microscale detection and hydrogen sulfide indicator enrichment media for rapid presumptive screening of thiosulfate-reducing Salmonella th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email aluck@eng.buu.ac.th
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Our rapid microscale assay (RapidSAL) uses an array of new presumptive indicator in the enrichment step. The new indicator broths are based on hydrogen sulfide (H2S) production. The presence of Salmonella is indicated by clear changes of broth color. Collectively, the broth formulations with thiosulfate as sulfur substrates could distinguish between thiosulfate reductase-positive salmonellae and reductase-negative non-salmonellae. Spectrophotometrically, the highest difference in absorbance between broths spiked with Salmonella spp. and non-salmonellae was at 650 nm. (ferric ammonium citrate) for H2S production, respectively. The optimized thiosulfate-based broth, named TFTOA (thiosulfate, ferric ammonium citrate, trehalose, ornithine, and arginine), effectively increased black precipitates and OD650 of Salmonella Typhi and Salmonella Anatum, and displayed good sensitivity for other thiosulfate – reducing Salmonella, while TFXOA broth within 24 h showed high sensitivity for typical Salmonella, but low for S. Typhi and S. Anatum. These developed H2S broths had more selectivity than the conventional media since the common false positive competitors (C. freundii and P. vulgaris) could be distinguished. RapidSAL satisfied our main research goals of no false negative results, high throughput, and rapid analytical time; first presumptive result on day 1 and second presumptive result on day 2, in contrast to the conventional method that requires 3 days for the first presumptive result en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account