Abstract:
การศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและการลงเกาะของลูกหอยนางรม (Saccostrea commercialis) บริเวณแม่น้ำพังราด จังหวัดระยอง ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2559 ปัจจัยที่ศึกษาคือ ระยะทางจากปากแม่น้ำถึงตำแหน่งที่ลูกหอยลงเกาะ แบ่งออกเป็น 2 ตำแหน่ง ได้แก่ สถานีห่างจากปากแม่น้ำ 1.4 และ 3.3 กม. แขวนพวกเชือกล่อลูกหอยสถานีละ 10 พวง ตรวจสอบจำนวนและชนิดหอยที่ลงเกาะในเดือนมกราคม วัดความยาวเปลือกหอยทุกเดือน วิเคราะห์จำนวนลูกหอยที่ลงเกาะและความยาวเปลือกด้วยวิธี T-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษาพบว่า จำนวนลูกหอยต่อพวงเชือกเฉลี่ยที่ลงเกาะที่สถานีห่างจากปากแม่น้ำ 1.4 และ 3.3 กม. เท่ากับ 41.10+-11.26 และ 44.60+-14.85 ตัว ตามลำดับ จำนวนลูกหอยเฉลี่ยที่ลงเกาะแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p<0.05) ระหว่างสองสถานี สัดส่วนลูกหอยที่ลงเกาะทั้งสองสถานีเป็นหอยนางรมมากกว่าร้อยละ 84 เปอร์เซ็นต์ หอยชนิดอื่นที่พบได้แก่ หอยตาดำ และหอยเสียบ การเจริญเติบโตของลูกหอบพบว่า ความยาวของเปลือกหอยเฉลี่ยบริเวณสถานีห่างจากปากแม่น้ำ 3.3 กม. จะมีความยาวเปลือกเฉลี่ยมากกว่าบริเวณสถานีห่างจากปากแม่น้ำ 1.4 กม. อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) นะหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม 2559
การทดลองที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงหอยนางรมโดยการล่อลูกหอยธรรมชาติของชุมชนปากแม่น้ำพังราด ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์กับเกษตรกรประกอบวิชาชีพการเพาะเลี้ยงหอยนางรมโดยการล่อลูกหอยตามธรรมชาติ ทั้งหมด 82 ครัวเรือน ในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 แบบสัมภาณ์ประกอบด้วย 3 ส่วน ไก้แก่ คำถามทั่วไป คำถามเกี่ยวกับทัศนคติในการประกอบอาชีพ และคำถามเกี่ยวกับความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่ประกอบอาชีพล่อลูกหอยนางรมส่วนใหญ่มีคงามพึงพอใจในการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่มีอาชีพเสริม เกษตรกรที่ประกอบอาชีพล่อลูกหอยนางรมมีความตระหนักในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลและบริเวณปากแม่น้ำ และมีการปลูกฝังให้ความรู้กับบุตรหลาน มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาคุณภาพน้ำและป่าชายเลนบริเวณชุมชน และเกษตรกรที่ประกอบอาชีพล่อลูกหอยนางรมส่วนใหญ่มีความคิดว่าสภาพเศรษฐกิจการล่อลูกหอยนางรมจากธรรมชาติของชุมชนบริเวณปากแม่น้ำพังราด จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยองในอนาคตไม่มีแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการประกอบอาชีพ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ และราคาผลผลิตมีความไม่แน่นอน เกษตรกรมีความต้องการให้ภาครัฐเข้าช่วยเหลือด้านทุน และการให้ความรู้เกี้ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากร