Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานและเถ้าถ่านหินต่อการแทรกซึมของ
คลอไรด์ การกัดกร่อนเหล็กเสริม และกำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมจากเศษคอนกรีต ภายใต้
สภาวะแวดล้อมทะเลเป็นเวลา 5 ปีโดยใช้เถ้าถ่านหินจากแม่เมาะแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
ประเภทที่ 1 ในคอนกรีตที่ใช้มวลรวมจากเศษคอนกรีตและมวลรวมจากธรรมชาติในอตัราส่วน
ร้อยละ 0, 15, 25, 35และ 50 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน (W/B)
เท่ากับ 0.40, 0.45 และ 0.50 หล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ขนาด 200x200x200 มม
3 และฝังเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนยก์ลาง 12 มม. ยาว 50 มม. ให้มีระยะหุ้มของคอนกรีตหนาเท่ากับ 10, 20, 50 และ 75 มม. เพื่อทดสอบการกดักร่อนเหล็กเสริมและการแทรกซึมของคลอไรด์ตลอดจนหล่อ ตัวอย่างคอนกรีตทรงกระบอกขนาด 100×200 มม2 . เพื่อทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต หลังจากบ่มคอนกรีตในน้ำ เป็นเวลา 28 วัน นำตัวอย่างทดสอบไปแช่ในสิ่งแวดล้อมทะเลบริเวณชายฝั่งในสภาวะเปียกสลับแห้ง โดยเก็บตัวอย่างทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์การกัดกร่อนเหล็กเสริมและกำลังอัดของคอนกรีตที่อายุแช่น้ำทะเล 5 ปี
ผลการศึกษาพบว่าคอนกรีตที่ใชม้วลรวมจากเศษคอนกรีตทุกส่วนผสม มีการสูญเสียกำลัง
อัดหลังแช่น้ำทะเลเป็นเวลา 5 ปีการใช้เถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ใน
ปริมาณที่สูงขึ้นส่งผลต่อการแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีตและการกดักร่อนเหล็กเสริมลงได้
อย่างชัดเจน อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ลดลงส่งผลต่อการลดการแทรกซึมคลอไรด์ในคอนกรีต
ที่ไม่ผสมเถ้าถ่านหินมากกว่าคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหิน การศึกษาคร้ังนี้พบว่า การแทนที่เถ้าถ่านหิน
แม่เมาะในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ร้อยละ 15 ถึง 25 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และมี
อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 มีความเหมาะสมทั้งกำลังอัดและความสามารถในการ
ต้านทานการแทรกซึมของคลอไรด์ที่จะใช้ในสิ่งแวดล้อมทะเล