Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
ประกอบด้วย สมรรถภาพปอด ผลถ่ายภาพรังสีทรวงอก อาการระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของผู้ประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะในเขตภาคตะวันออก จำนวน 399 คน เก็บข้อมูลโดยประเมินความเข้มข้นไอโลหะหนัก
ชนิดหนึ่ง (ความลับทางการค้า) ก๊าซโอโซน ฝุุนขนาดเล็กชนิดที่เข้าทางเดินหายใจได้ (Respirable dust) สอบถามอาการระบบทางเดินหายใจ การถ่ายภาพรังสีทรวงอก และตรวจสมรรถภาพปอด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 25.78 (4.67) ปี และ 28.24 (5.33) ปี เพศชายมีประวัติการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25.9
เพศชายมีการใช้หน้ากากป้องกันระบบทางเดินหายใจร้อยละ 87.5 เพศหญิง ร้อยละ 47.6 ความเข้มข้นเฉลี่ยสูงสุด (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง (ความลับทางการค้า) เท่ากับ 0.0138 (.008) มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก๊าซโอโซน เท่ากับ 65.05 (3.889) พีพีบี และความเข้มข้น
ฝุุนโลหะหนักขนาดเล็กชนิดที่เข้าทางเดินหายใจได้ เท่ากับ 0.325 (0.289) มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผลการตรวจสมรรถภาพปอดจำแนกตามระดับความเข้มข้นไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง เมื่อพิจารณาค่า FEV1 (% Predicted) พบว่า ผู้ที่มีความผิดปกติแบบอุดกั้น (Obstructive abnormality) ระดับผิดปกติเล็กน้อย ร้อยละ 2.5 เมื่อพิจารณาค่า FVC (% Predicted) พบผู้ที่มีความผิดปกติแบบจำกัดการขยายตัว (Restrictive abnormality) ระดับเล็กน้อย ร้อยละ 2.0
ส่วนผลการถ่ายภาพรังสีทรวงอกผู้ จำนวน 397 ราย พบว่า มีความผิดปกติ ร้อยละ 3 ที่เป็นพังผืดโดยเป็นบริเวณปอดข้างขวาบน (Fibrosis) ร้อยละ 0.75 และมีพังผืดบริเวณปอดทั้งสองข้างด้านล่าง ร้อยละ 0.25 โดยร้อยละ 100 เป็นเพศชาย อยู่ในกลุ่มสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 25
การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ (Multiple linear regression) จำนวน 3 โมเดล จำแนกตามความเข้มข้นไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง (ความลับทางการค้า) ก๊าซโอโซน และฝุุนขนาดเล็ก สามารถเข้าระบบทางเดินหายใจได้ ประกอบด้วยตัวแปรทำนาย 7 ตัวแปร คือ เพศ อายุ ประวัติการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ระยะเวลาในการทำงาน (ปี) การสวมหน้ากากฮู้ดป้องกัน
ระบบทางเดินหายใจ ความเข้มข้นฝุุนกับการเปลี่ยนแปลงของค่า FVC ค่า FEV1 พบว่า มีเพศและอายุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่า FVC ค่า FEV1 และ FEV1/ FVC เมื่อมีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอื่น สถิติที่ระดับ .05
การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ (Multiple logistic regression) จากปัจจัย เพศ อายุ ประวัติการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระยะเวลาในการทำงาน การสวมฮู้ดป้องกันระบบทางเดินหายใจ และความเข้มข้นไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง (ความลับทางการค้า ) พบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการไอ
คือ ประวัติการสูบบุหรี่ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 1.97(1.009,3.847) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.039(1.074,3.872) ส่วนในกลุ่มรับสัมผัสก๊าซโอโซน คือ OR (95% CI) เท่ากับ 2.024(1.037,3.949) และ OR (95% CI) เท่ากับ 1.922(1.014,3.642) ส่วนกลุ่มที่รับสัมผัสฝุุนขนาดเล็กชนิดที่เข้าทางเดินหายใจได้ (Respirable dust) พบกลุ่มที่สูบบุหรี่
มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 1.708(1.033,2.825) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการเฝ้าระวังสุขภาพผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ ผู้ที่เป็นเพศหญิง อายุงานมากกว่า 3 ปี รับสัมผัสกับไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง (ความลับทางการค้า) ฝุุนโลหะหนักขนาดเล็กที่เข้าระบบทางเดินหายใจได้ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อค่า FVC และ FEV1 การเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการปฏิบัติงานในโรงงานหลอมโลหะหนักมากขึ้น