Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการจำเป็นของนิสิตด้านการจัดบริการเพื่อพัฒนานิสิต เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของนิสิตด้านการจัดบริการในการพัฒนานิสิตจำแนกตามสาขาวิชา และเพื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการจำเป็นของนิสิตด้านการจัดบริการในการพัฒนานิสิตจำแนกตามประเภทของนิสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี คณะศึกษษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2550ที่กำลังศึกษาอยู่ในสาขาต่างๆ รวม 16 สาขา ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ จำนวน 283 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในรูปแบบการตอบข้อมูลสองชุดหรือการตอบสนองคู่ (Dual-response Format) ตามสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงที่ตรงกับระดับความคิดเห็นของนิสิต มีการตอบด้วยการประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของสภาพที่คาดหวังเฉลี่ยรวมทั้งฉบับได้ .985 ความเชื่อมั่นของสภาพที่เป็นจริงเฉลี่ยรวมทั้งฉบับได้ .970 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Need Index : PIN modified) การทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนานิสิตโดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่า PNI Modified เท่ากับ.366 โดยเรียงลำดับรายด้านจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) ด้านการบริการด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อนอสิต 2) ด้านการบริการด้านการแนะแนและการให้คำปรึกษา 3) ด้านการบริการด้านกายภาพที่ส่งเสริมคุณภาพชิวิตของนิสิต 4) ด้านการจัดโครงสร้างการพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาชีพแก่นิสิตในรูปแบบต่าง ๆ และด้านสุดท้าย คือ 5 ) ด้านการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียน
2. ความจำเป็นโดยภาพรวมของนิสิตที่เรียนในแต่ละสาขา สามารถเรียงลำดับความต้องการจำเป็นได้ดังนี้ 1)สาขาวิชาการสอนเคมี 2)สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ 3)สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ 4) สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป 5) สาขาวิชาการสอนชีววิทยา 6) สาขาวิชาการสอนฟิสิกส์ 7) สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 8) สาขาการสอนภาษาจีน 9) สาขาการสอนภาษาญี่ปุ่น 10) สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
11) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย 12) สาขาวิชาการศึกษษปฐมวัย 13) สาขาวิชาการสอนสุขศึกษาและพละศึกษา 14) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 15) สาขาวิชานาฏยสังคีตและ 16)สาขาวิชาการสอนศิลปะตามลำดับ
3. นิสิตภาคปกติและนิสิตภาคพิเศษมีความต้องการจำเป็นด้านการจัดบริการในการพัฒนานิสิตที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05