Abstract:
เห็ดขลำหมา (Mycoamaranthus cambodgensis (Pat.) Trappe) เป็นเห็ดป่าที่พบตามธรรมชาติที่มีการนำมาใช้เป็นยาตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดและสารสำคัญจากเห็ดขลำหมา จากผลการศึกษาในครั้งนี้ สารสกัดเห็ดขลำหมาที่สกัดด้วย 50% เอทานอลมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง โดยทำการวิเคราะห์ด้วยวิธี DPPH (EC50 เท่ากับ 55.51 ± 3.62 µg/ml) และ FRAP (166.64 ± 11.43 µg/mg extract) และมีปริมาณสารกลุ่มฟีนอลลิคสูง (113.80 ± 3.13 mg TAE/g extract) แต่พบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์เล็กน้อย (2.61 ± 0.12 mg QCE/gextract) และสามารถแยกสารสำคัญได้สาร 2 ชนิด คือ D-mannitol (compound 1) และ ethyl--Dglucopyronoside (compound 2) ทั้งสารสกัดและสารสำคัญไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม MCF7 และ MDA-MB-231 และเซลล์มะเร็งลำไส้ Caco-2 สารสกัดและสารสำคัญมีฤทธิ์ในการลดการสร้างไนตริกออกไซต์ของเซลล์ RAW264.7 ที่ถูกชักน าด้วย lipopolysaccharides ได้เล็กน้อยจากการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบพบว่า สารสกัดและ D-mannitol มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบได้ดี โดยสามารถยับยั้งการแสดงออกของยีน COX-2 (IC50 เท่ากับ 223.09±8.85 μg/ml และ 22.77±0.79 μg/ml ตามลำดับ) ยับยั้งการแสดงออกของยีน IL-1β (IC50 เท่ากับ 224.97±21.43 μg/ml และ >20 μg/ml
ตามลำดับ) ยับยั้งการแสดงออกของยีน IL-6 (IC50 เท่ากับ 152.61±22.03 μg/ml และ 33.21±4.85 μg/ml
ตามลำดับ) ยับยั้งการแสดงออกของยีน iNOS (IC50 เท่ากับ 101.72±7.76 μg/ml และ 14.95±0.61 μg/ml ตามลำดับ) และสามารถยับยั้งการแสดงออกของยีน TNF-α (IC50 เท่ากับ 115.74±4.48 μg/ml และ
13.38±0.12 μg/ml ตามลำดับ) สำหรับการศึกษาฤทธิ์เอสโตรเจน พบว่า สารสำคัญที่ทดสอบมีฤทธิ์ชักน าให้
เกิดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ MCF7 ที่ถูกจำกัดเอสโตรเจนได้ดีคล้ายกับฤทธิ์ของเอสโตรเจน โดยเฉพาะ Dmannitol ส่วนสารสกัดมีฤทธิ์เพียงเล็กน้อย ในขณะที่ในสภาวะที่มีเอสโตรเจนร่วมด้วย พบว่า ทั้งสารสกัด
และสารสำคัญสามารถลดการเจริญของเซลล์มะเร็งที่ทดสอบที่เกิดจากการชักนำให้เจริญด้วยเอสโตรเจนได้
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะสารสกัดและ D-mannitol แม้ว่าทั้งสารสกัดและ D-mannitol ที่ความเข้มข้นต่ำสามารถพบการเสริมของเอสโตรเจนได้ จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดและสารสำคัญจากเห็ดขลำหมามีฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจและมีศักยภาพในการนำมาศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพซึ่งมีพื้นฐานองค์ความรู้จากภูมิปัญญาไทย ตลอดจนการอนุรักษ์เห็ดป่าต่อไป