DSpace Repository

รูปแบบ การสะสมสารสี ของสัตว์ทะเลกลุ่มเอคไคโนเดิร์ม

Show simple item record

dc.contributor.author อมรรัตน์ กนกรุ่ง
dc.contributor.author คคนางค์ รัตนาคม
dc.contributor.author ศิริวรรณ ชูศรี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-05-23T10:07:54Z
dc.date.available 2019-05-23T10:07:54Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3575
dc.description.abstract ศึกษาสารสีแคโรทีนอยด์และสารสีแอนโทไซยานินรวมในสัตว์ทะเลกลุ่มดาวทะเลและกลุ่มปลิงทะเล โดยมีการศึกษาในดาวทะเล จำนวน 9 ชนิด คือ Linckia multiflora, Protoreaster nodosus, Pentaceraster gracilis, Linckia laevigata, Linckia guildingi, Linckia laevigata, Culcita schmideliana, Anthenea pentagonula และ Luidia maculate ส่วนในปลิงทะเล ที่ทำการศึกษา จำนวน 3 ชนิด คือ ปลิงหินหนาม (Stichopus horrens Selenka, 1867) ปลิงทะเลสีดำ (Holothuria leucospilota, Brandt 19835) และ ปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สีชมพูเหลือง (Cercodemas anceps, Selenka 1867) ซึ่งตัวอย่างที่ทำการศึกษาในครั้งนี้เก็บจากแหล่งธรรมชาติ บริเวณภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย ในการศึกษาชนิดและปริมาณสารสีแคโรทีนอยด์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์หาชนิดละปริมาณสารสีด้วยเครื่อง HPLC ตามวิธีของ Britton และคณะ (1995) จากการศึกษาพบว่าสารสี astaxanthin เป็นแคโรทีนอยด์ที่พบในปริมาณสูงกว่าแคโรทีนอย์อีก 5 ชนิด ที่ทำการศึกษา (beta-carotene, cantaxanthin, echineneone, zeaxanthin และ lutein) ในสัตว์ทะเลกลุ่มดาวทะเลและปลิงทะเล โดย astaxanthin พบในปริมาณสูงสุดเมื่อทำการศึกษาในดาวทะเล Linckia laevigata คือ 27881.92 µg/g ของน้ำหนักเปียก และพบต่ำสุดในดาวแสงอาทิตย์ Luidia maculate (13.59 µg/g ของน้ำหนักเปียก) ส่วนในปลิงทะเลพบมีปริมาณสูงในปลิงทะเลกิ่งไม้สีชมพู (167.51 µg/g ของน้ำหนักเปียก) สารสีแคโรทีนอยด์ชนิด zeaxanthin และ lutein พบว่าแคโรทีนอยด์ทั้งสองชนิดนี้พบมากสุดในดาวทะเลเหลืองแดง (Linckia multiflora) คือ 41.74 µg/g ของน้ำหนักเปียก ส่วนในปลิงทะเลพบว่ามีปริมาณสารสีแคโรทีนอยด์ชนิดนี้สูงสุดในปลิงทะเลกิ่งไม้สีชมพู (2.58 µg/g ของน้ำหนักเปียก) ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าสารสีแคโรทีนอยด์ชนิด beta-carotene, cantaxantthin และ echinenone พบในปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับ astaxanthin, zeaxanthin และ lutein ส่วนในการศึกษาสารสีแอนโทไซยานินรวมในสัตว์ทะเลกลุ่มดาวทะเลและปลิงทะเลนั้นพบว่ามีปริมาณของแอนโทไซยานินรวมสูงสุดเมื่อทำการศึกษาในดาวทะเลหมอนปักเข็ม คือ 4.49 µg/g ของน้ำหนักเปียกและในการศึกษาสารแอนโทไซยานินในสัตว์ทะเลกลุ่มปลิงทะเล พบว่ามีปริมาณสูงสุดในปลิงทะเลกิ่งไม้สีชมพู คือ 1.5 µg/g ของน้ำหนักเปียก th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เอไคโนเดอร์มาตา th_TH
dc.subject สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง th_TH
dc.subject รงควัตถุจากสัตว์ th_TH
dc.title รูปแบบ การสะสมสารสี ของสัตว์ทะเลกลุ่มเอคไคโนเดิร์ม th_TH
dc.title.alternative Pigment accumulation profiles in Echinoderms en
dc.type Research th_TH
dc.author.email amonrat_@buu.ac.th
dc.author.email siriwanc@buu.ac.th
dc.year 2559 th_TH
dc.description.abstractalternative This study aimed to study carotenoid and anthocyanin in 9 species of starfish, namely Linckia multiflora, Protoreaster nodosus, Pentaceraster gracilis, Linckia laevigata, Linckia guildingi, Linckia laevigata, Culcita schmideliana, Anthenea pentagonula and Luidia maculate as well as 3 species of sea cucumber, including Stichopus horrens Selenka, 1867 Holothuria leucospilota, Brandt 1985 and Cercodemas anceps, Selenka 1867. All samples were collected from natural sources in the southern and the eastern part of Thailand. The analysis method using High Performance Liquid Chromatography proposed by Brition et al. (1995) was operated to determined types and contents of carotenoids. It was found that the astaxanthin content was the higher than that of another 5 carotenoids (beta-carotene, cantaxanthin, echineneone, zeaxanthin and lutein) in starfish and sea cucumber samples. The highest astaxanthin content was found as 27881.92 µg/g of wet weight in L. laevigata while the lowest astaxanthin content was found in L. maculate (13.59 µg/g of wet weight). Among the sea cucumber samples, the C. anceps had the highest content of astaxanthin (167.51 µg/g of wet weight). In this study, betacarotene, cantaxanthin and echinenone contents were much lower than astaxanthin, zeaxanthin and lutein. In addition, in the anthocyanin study C. schmideliana and C. anceps had the highest total anthocyanin content (4.49 µg/g and 1.5 µg/g of we weight, respectively) en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account