Abstract:
จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีจากลำต้นของต้นธนนไชย สามารถแยกสารได้สารบริสุทธิ์ 1 สาร ซึ่งเป็นสารที่มีรายงานมาก่อน คือ Koaburside และจากการสกัดสารจากส่วนของใบที่สกัดด้วย ไดคลอโรมีเทน (BS1) และเมทานอล (BS2) และจากส่วนของลำต้นที่สกัดด้วยไดคลอโรมีเทน (BS3)
และเมทานอล (BS4) ได้นำมาศึกษาลักษณะของโครมาโตกราฟีและฤทธิ์ทางชีวภาพต่าง ๆ อาทิ
ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณฟีนอลิกรวม ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านเชื้อรา ซึ่งสารสกัดจากเมธานอลมีปริมาณฟีนอลิกมากกว่าสารสกัดจากไดคลอโรมีเทน โดยสารสกัด BS4 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด คือ มีค่า EC50 เท่ากับ 7.1±0.1 μg/ml ซึ่งสูงกว่าสารสกัด BS2, BS3 และ BS1 ตามลำดับ
สารสกัดทุกชนิดสามารถยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์จากเซลล์แมคโครเฟจ RAW264.7 ในสภาวะที่มี LPS ชักนำได้ โดยเฉพาะ BS3 (IC50 เท่ากับ 94.47±23.50 µg/ml) สารสกัด BS1 มีความเป็นพิษต่อเซลล์ HaCaT, HepG2, MCF-7 และ MDA-MB-231 มากกว่าสารสกัดชนิดอื่น โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 119.41±4.80, 196.47±41.36, 264.76±8.50 และ 289.81±36.57 μg/ml ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ค่า BS1 มีค่า selectivity index (SI) ต่ ากว่าสารสกัดชนิดอื่น และที่น่าสนใจไปกว่านั้นสารสกัดนี้ สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์ตับชนิด HepG2 ได้ดีกว่าเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MCF-7 และ MDAMB-231 นอกจากนี้สารสกัด BS4 มีค่า SI ของเซลล์ HepG2 เท่ากับ 2.25 ซึ่งสูงกว่าสารสกัด BS2, BS3 และ BS1 (SI เท่ากับ 1.58, 0.88 และ 0.61, ตามลำดับ) ซึ่งสอดคล้องกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารสกัด BS1 และ BS3 สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเหล่านี้ผ่านการชักนำให้เกิดการตายแบบ apoptosis นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งสารสกัดคือ BS3 ที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียต่อทั้งแบคทีเรียแกรมบวก ได้แก่ B. subtilis, B. cereus, S. epidermidis และ S. aureus และแบคทีเรียแกรมลบ ได้แก่ E. coli และ P. aeruginosa ที่ดีกว่าสารสกัด BS1, BS2 และ BS4 จากการศึกษากลไกในการออกฤทธิ์ของสารสกัด BS3 โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน Transmission electronmicroscopy (TEM) กับเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis และ B. cereus พบว่า สารสกัดสามารถทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียและทำให้แบคทีเรียไม่สามารถเจริญได้ ดังนั้นสารสกัดจากต้นธนนไชยจึงอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการศึกษาต่อยอดทางด้านยาสมุนไพรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ