DSpace Repository

ผลของความละเอียดของเถ้าแกลบและความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่อกำลังอัดของจีโอพอลิเมอร์คอนกรีต

Show simple item record

dc.contributor.author วิเชียร ชาลี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-05-15T02:48:18Z
dc.date.available 2019-05-15T02:48:18Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3558
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความละเอียดของเถ้าแกลบ และ ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่อกำลังอัดของจีโอพอลิเมอร์คอนกรีตจากเถ้าแกลบดําผสมเถ้าถ่านหิน โดยใช้อัตราส่วนระหว่างเถ้าถ่านหิน ต่อเถ้าแกลบดําเท่ากับ 9:1 โดยน้ำหนัก ใช้เถ้าแกลบดําที่มีความละเอียดต่างกัน 3 ขนาด ได้แก่ เถ้าแกลบดําไม่บด (O) เถ้าแกลบดําบดหยาบ (M) และเถ้าแกลบดําบดละเอียด (F) ซึ่งมีน้ำาหนักค้างบนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 325 ในปริมาณไม่เกินร้อยละ 48, 34 และ 30 ตามลําดับ ของเหลวที่ใช้ในการเตรียมวัสดุจีโอพอลิเมอร์ ประกอบด้วยสารละลายโซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3) และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ที่มีความเข้มข้น 12, 14, 16 และ 18 โมลาร์ และใช้อัตราส่วนระหวางของเหลวต่อวัสดุประสาน (L/S) เท่ากบ 0.90 หลังตัวอย่าง จีโอพอลิเมอร์คอนกรีตขนาด 100x100x100 มม. แกะแบบที่อายุ 24 ชม. และ บ่มตัวอย่างในอากาศโดยใช้พลาสติกพันรอบ ทดสอบกำลังอัดของจีโอพอลิเมอร์คอนกรีตที่อายุบ่มเป็นเวลา 7, 14, 28 และ 60 วัน ผลการศึกษาพบว่า ความละเอียดของเถ้าแกลบดําที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้กำลังอัดของจีโอพอลิเมอร์ คอนกรีตสูงขึ้น ทั้งนี้ตัวอย่างทดสอบที่ใช้เถ้าแกลบดําบดละเอียดมีค่ากำลังอัดสูงกว่าตัวอย่างที่ใช้เถ้าแกลบดําไม่บดอย่างมีนัยสําคัญโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 60 ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่สูงขึ้นในช่วง 12 - 16 โมลาร์ ส่งผลให้กำลังอัดมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีกำลังอัดสูงสุดที่ความเข้มข้น 16 โมลาร์และกำลังอัดลดลงเมื่อความเข้มข้นสูงขึ้นเท่ากับ 18 โมลาร์ นอกจากนี้กำลังอัด ของจีโอพอลิเมอร์คอนกรีตสูงขึ้นตามอายุทดสอบและมีแนวโน้มการพัฒนาที่สูงในช่วงอายุต้น th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คอนกรีตผสมขี้เถ้าลอย -- การทดสอบ th_TH
dc.subject จีโอโพลิเมอร์ th_TH
dc.subject คอนกรีต -- สารเติมแต่ง th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title ผลของความละเอียดของเถ้าแกลบและความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่อกำลังอัดของจีโอพอลิเมอร์คอนกรีต th_TH
dc.title.alternative Effect of rice husk ash fineness and NaOH concentration on the compressive strength of geopolymer concrete en
dc.type Research th_TH
dc.author.email wichian@buu.ac.th
dc.year 2560 th_TH
dc.description.abstractalternative This research studies to study the effects of black rice husk ash fineness and sodium hydroxide solution concentration on the compressive strength of geopolymer concrete made of black rice husk ash and fly ash at the ratio of 9:1 by weight of binder. The fineness of black rice husk ash were classified into original (O), medium (M), and fine (F) corresponding to their percent retained by weight on a #325 – sieve less than 48, 34, and 30, respectively. Sodium silicate solution (Na2SiO3) and sodium hydroxide solution (NaOH) with various concentrations of 12, 14, 16, and 18 molar were conducted with the liquid and solid (L/S) of 0.90 in geopolymer concrete mixtures. Cube specimens of 100x100x100 mm. were removed from the molds after being cast for 24 hours and then were cured with plastic wrap before compressive strength tests at the curing ages of 7, 14, 28, and 60 days. The study found that compressive strength increase with rice husk ash fineness. On average, compressive strength of the specimens containing small particle size of black rice husk ash were significantly higher than those of original particle size by about 60 percent. The greater in concentration of NaOH ranging from 12 - 16 molar also raised up the compressive strength. The highest compressive strength was obtained at the concentration of 16 molar and then its strength decreased at the greater concentration of 18 molar. Moreover, the compressive strength increased with curing time and developed greatly during the early period en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account