Abstract:
การศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในบริเวณการเกิดปรากฏการณ์แมงกะพรุนหลากสี บริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดตราด จำนวนทั้งสิ้น 6 สถานี (3 บริเวณ) โดยเก็บตัวอย่าง 6 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558 และเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม และกันยายน พ.ศ.2559 เพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพและเคมี เก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณดังกล่าว มีค่าพิสัยของพารามิเตอร์ต่าง ๆ ดังนี้อุณหภูมิ 30.0-32.7 °C ความเค็ม 10-30 ppt ความเป็นกรด- ด่าง 6.3-8.3 ออกซิเจนละลาย 2.4-7.3 mg/L ความโปร่งแสง 1.0-5.9 m สารแขวนลอย 10-35 mg/L แอมโมเนียทั้งหมด 0.5-412.9 µg-N/L แอมโมเนียรูปที่ไม่มีอิออน ND-11.6 µg-N/L ไนไตรท์ 0.4-164.2 µg-N/L ไนเตรท 1.7-28.0 µg-N/L ฟอสเฟต 1.4-22.9 µg-P/L และซิลิเกต 62.5-1150 µg-Si/L การศึกษาปริมาณของแพลงก์ตอนพืช พบ 3 ดิวิชัน (Division) ได้แก่ Cyanophyta , Chlorophyta และ Chromophyta พบทั้งสิ้น 85 สกุล แบ่งเป็น Class Cyanophyceae 7 สกุล Class Chlorophyceae 6 Class Bacillariophyceae 58 สกุล Class Dictyochophyceae 2 สกุล และ Class Dinophyceae 12 สกุล แพลงก์ตอนพืชสกุลเด่นที่พบในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ Chaetoceros, Bacteriastrum, Nitzschia, Merismopedia, Oscillatoria, Thalassionema, Peridinium, Protoperidinium, Ceratium และ Peridinium ความหนาแน่นเซลลล์ของแพลงก์ตอนพืช พบว่าบริเวณในคลองจะมีความหนาแน่นสูงความ บริเวณปากคลอง ซึ่งความแปรปรวนของทุกพารามิเตอร์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานี เมื่อเปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์คุณภาพน้ำกับค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งเพื่อการอนุรักษ ์ทรัพยากรธรรมชาติ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน