Abstract:
การปนเปื้อนของสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) ในสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล บริเวณภาคตะวันออก ทําการเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่ ตะกอนดินและปลาทะเลศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2559 พบความเข้มข้นของสารพีเอเอชรวม ที่สะสมในหอยแมลงภู่ขนาด เล็กในฤดูฝนโดยเฉลี่ย 0.170±0.111, 0.211±0.106 และ 0.187±0.147 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่โดยเฉลี่ย 0.098±0.048, 0.180±0.156 และ 0.159±0.087 ไมโครกรมั/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ในบริเวณอ่างศิลา ศรีราชาและมาบตาพุด ตามลําดับ ขณะที่ในฤดูแล้งพบการสะสมสารพี เอเอชรวม ในหอยแมลงภู่ขนาดเล็กโดยเฉลี่ย 3.473±1.437, 1.471±0.931 และ 0.258±0.156 ไมโครกรัม/กรมั (น้ำหนักแห้ง) ในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่โดยเฉลี่ย 2.510±1.681, 0.558±0.429 และ 0.705±1.058 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) บริเวณอ่างศิลา ศรีราชาและมาบตาพุดตามลําดับ ผลจากการศึกษาแสดงให้ทราบว่าฤดูกาล สถานที่และขนาดมีอิทธิพลร่วมกัน ต่อการปนเปื้อนของสารพีเอเอชรวม ในเนื้อเยื่อหอย และในฤดูแล้งหอยแมลงภู่ขนาดเล็กบริเวณอ่างศิลามีการปนเปื้อนสารพีเอเอชรวมอยู่สูง แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ตะกอนดินจากแหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่ทั้ง 3 พื้นที่ พบมีปริมาณของสารพีเอเอชรวม ปนเปื้อนใน ฤดูฝนโดยเฉลี่ย 0.901±0.570, 0.901±0.570 และ 0.877±1.063 ไมโครกรมั/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ขณะที่ในฤดูแล้ง พบการปนเปื้อนของสารพีเอเอชรวม โดยเฉลี่ย 0.529±0.554, 0.530±0.553 และ 0.727±0.838 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ในบริเวณอ่างศิลา ศรีราชาและมาบตาพุด จังหวัดระยอง ตามลําดับ ผลการศึกษาแสดงให้ทราบว่าทั้งฤดูกาลและสถานที่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ การปนเปื้อนสาร พีเอเอชรวม ในปลาทะเลบริเวณชายฝั่งอ่าวพร้าวของเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง จากตัวอย่างปลา 10 ชนิด ผลการศึกษาในฤดูฝน พบสารพีเอเอชรวม ปนเปื้อนโดยปริมาณเฉลี่ย 0.044±0.065 และ 0.053±0.068 ไมโครกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ของแนวใกล้ฝั่งและห่างฝั่งตามลําดับ ขณะที่ในฤดูแล้ง พบปริมาณสารพีอเอชรวม โดยเฉลี่ย 0.165±0.360 และ 0.115±0.308 ไมโครกรัม/ กรัม (น้ำหนักแห้ง) ของแนวใกล้ฝั่งและห่างฝั่งตามลําดับ ผลการศึกษาแสดงให้ทราบว่าฤดูกาลมีผลต่อการ ปนเปื้อนสารพีเอเอชรวม ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยพบในฤดูแล้งปริมาณสูง กว่าในฤดูฝน ผลจากการศึกษาแสดงถึงระบบนิเวศทางทะเลมีการปนเปื้อนด้วยสารมลพิษโดยเฉพาะสาร ในกลุ่มปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนอยู่อย่างต่อเนื่องสถิติ อย่างไรก็ตามไม่พบสารพีเอเอชรวม ในกลุ่มที่ก่อให้เกิดมะเร็ง