Abstract:
การเกิดขึ้นของสถาบันในระบอบประชาธิปไตยมักมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การขยายตัวทางเศรษฐกิจช่วยเพิ่มจํานวนแรงงานที่มีการศึกษาสูงในภาคการผลิตที่ทันสมัยซึ่งช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นผ่านการเลื่อนฐานะทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมทางการเมืองครอบคลุมตั้งแต่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไปจนถึงกิจกรรมอื่นๆ ภายใต้กรอบของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม บางกิจกรรมอาจนําไปสู่การฝ่าฝืนกฎหมาย อาทิการเดินขบวน การสนับสนุนหรือคัดค้านการใช้กฎหมาย และการประท้วงต่อต้านรัฐบาลการศึกษานี้ประยุกต์แบบจําลองเจตจํานงนิยมภาคพลเมืองเพื่อตรวจสอบผลเชิงประจักษ์ของปัจจัยเศรษฐกิจต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาคตะวันออกของไทย วิธีออเดอร์โลจิตนํามาใช้ประมาณค่าแบบจําลองที่ได้จากแบบสอบถามจํานวน 440 ชุด ผลการศึกษาสําคัญ พบว่า อายุและรายได้ครัวเรือนส่งผลต่อทางบวกต่อระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในขณะการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมบางประเภทสามารถอธิบายความแตกต่างของการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้กล่าวคือ ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนามีแนวโน้มลดลง
ที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับสูง บทบาทของสื่อมวลชนโดยเฉพาะสื่อเลือกข้างและ
ความพึงพอใจระดับบุคคลต่อการกระจายรายได้เป็นตัวกําหนดสําคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมือง การศึกษานี้มีข้อค้นพบบางส่วนว่าความเหลื่อมล้ําและความยากจนในระดับชุมชน(ตําบล) ส่งผลให้
การมีส่วนร่วมทางการเมืองลดลง