DSpace Repository

ผลกระทบของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่อปริมาณคลอไรด์วิกฤตของคอนกรีต

Show simple item record

dc.contributor.author ทวีชัย สำราญวานิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-04-21T06:03:50Z
dc.date.available 2019-04-21T06:03:50Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3524
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของสิ่งแวดล้อมต่อปริมาณคลอไรด์วิกฤต ของคอนกรีต โดยศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่ 30๐C และ 50๐C และความชื้นสัมพัทธ์สิ่งแวดล้อมที่ 30% และ 90% ต่อปริมาณคลอไรด์วิกฤตของคอนกรีต ภายใต้วัฎจักรเปียกสลับแห้ง 1 วัน : 1 วัน และสารละลายเกลือคลอไรด์เข้มข้น 5.0% ทำการตรวจวัดระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมด้วยวิธีตามมาตรฐาน ASTM G109 และ ASTM C876 ซึ่งวัดค่าความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าและศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ตามลำดับ คอนกรีตที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยคอนกรีตที่ผสมเถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 20 40 และ 60 คอนกรีตที่ผสมซิลิก้าฟูมแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 7.5 และ 15 และคอนกรีตทีผสมซีโอไลท์สังเคราะห์แทนที่วัสดุประสานร้อยละ 1 และ 5 โดยนํ้าหนัก ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.60 และทำการบ่มคอนกรีตเป็นเวลา 7 และ 28 วัน ก่อนทดสอบจากผลการทดลองพบว่า คอนกรีตที่เผชิญอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม 30๐C ภายใต้ความชื้นสัมพัทธ์คงที่ 90% มีระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมนานกว่าคอนกรีตที่อุณหภูมิ 30๐C แต่มีค่าปริมาณคลอไรด์วิกฤตของคอนกรีตต่ำกว่า และคอนกรีตที่เผชิญความชื้นสัมพัทธ์สิ่งแวดล้อม 30% ภายใต้อุณหภูมิคงที่ 50๐C มีระยะเวลาเริ่มเกิดสนิมนานกว่าคอนกรีตที่ความชื้นสัมพัทธ์ 90% แต่มีปริมาณคลอไรด์วิกฤตที่ตํ่ากว่าเช่นกัน หากพิจารณาดัชนีความต้านทานการเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต SICD ซึ่งหมายถึงระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีตต่อหนึ่งหน่วยปริมาณคลอไรด์วิกฤตในคอนกรีต โดยเมื่อ SICD มีค่าสูง จะทำให้ระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิม ของเหล็กเสริมนานขึ้น โดยผลการศึกษาพบว่า คอนกรีตที่เผชิญอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมต่ำมีค่า SICD มากกว่าคอนกรีตที่เผชิญอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมสูง และคอนกรีตที่เผชิญความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมี SICD มากกว่าคอนกรีตที่เผชิญความชื้นสัมพัทธ์สูง คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 5 มี ดัชนีความต้านทานการเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต SICD มากที่สุด แต่มีกำลังอัดน้อยกว่า คอนกรีตซีเมนต์ล้วน คอนกรีตที่ใช้ซีโอไลท์สังเคราะห์แทนที่วัสดุประสานร้อยละ 5 ที่เผชิญ อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม 50°C และความชื้นสัมพัทธ์สิ่งแวดล้อม 90% มีค่า SICD มากกว่าคอนกรีต ซีเมนต์ล้วน และมีกำลังอัดคอนกรีตใกล้เคียงคอนกรีตซีเมนต์ล้วน คอนกรีตที่ใช้ซิลิก้าฟูมแทนที่ วัสดุประสานร้อยละ 7.5 ที่เผชิญอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม 30°C และความชื้นสัมพัทธ์สิ่งแวดล้อม 30% มีค่า SICD สูงกว่าคอนกรีตซีเมนต์ล้วนและมีกำลังอัดสูงกว่าคอนกรีตซีเมนต์ล้วนด้วย th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณเงินแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คอนกรีต th_TH
dc.subject คลอไรด์ th_TH
dc.subject คอนกรีต - - การกัดกร่อน th_TH
dc.subject คอนกรีต - - อายุการใช้งาน th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title ผลกระทบของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่อปริมาณคลอไรด์วิกฤตของคอนกรีต th_TH
dc.title.alternative Effect of temperature and relative humidity on threshold chloride content of concrete en
dc.type Research
dc.author.email twc@buu.ac.th
dc.year 2561
dc.description.abstractalternative This research aims to study the effect of temperature and relative humidity in environment on chloride threshold content of concrete. The effect of temperature at 30๐C and 50๐ C and the relative humidity at 30% and 90% on chloride threshold content were studied under cyclic wetting and drying cycle of 1-day wet and 1-day dry and chloride solution of 5% concentration. The depassivation time of steel was detected by measuring corrosion current density and half-cell potentials according to ASTM G109 and ASTM C876 standards, respectively. Concretes in this study were concrete containing fly ash with the replacement of 20% 40% and 60% of binder, concrete containing silica fume with the replacement of 7.5% and 15%, concrete containing synthetic zeolite with the replacement of 1% and 5% by weight. The water to binder ratios were varied from 0.40 to 0.60 and the specimens were cured for 7 and 28 days before testing chloride threshold content. From the experimental results, it was found that concrete exposed to temperature of 30 ๐C and constant relative humidity of 90% has longer depassivation time of steel than that of 50๐C, but has lower chloride threshold content. Concrete exposed to relative humidity of 30% and constant temperature of 50๐C has longer depassivation time of steel than that of 90%, but has lower chloride threshold content. When steel corrosion index, SICD, which is the depassivation time of steel in concrete per unit of chloride threshold content was considered, higher SICD results in longer depassivation time of steel. The study results showed that concrete exposed to low temperature environment has higher SICD than concrete exposed to high temperature environment. Concrete exposed to low relative humidity environment has higher SICD than concrete exposed to high relative humidity. Concrete containing fly ash with the replacement of 40% has the highest SICD, but has lower compressive strength than cement concrete. Concrete containing synthetis zeolite with the replacement of 5% exposed to temperature environment of 50๐C and relative humidity environment of 90%, has higher SICD than that cement concrete, but has very closed compressive strength to cement concrete. Concrete containing silica fume with the replacement of 7.5% exposed to temperature environment of 30๐C and relative humidity environment of 30%, has higher SICD than that cement concrete, and has higher compressive strength than cement concrete en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account