Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาสภาพฐานรากของทางรถไฟสายตะวันออกบริเวณเสาโทรเลขที่ 72/15 จ.ฉะเชิงเทรา โดยเก็บตัวอย่างวัสดุฐานรากที่จุดต่าง ๆ ของหน้าตัดแล้วทําการจําแนกเป็น coarse aggregate, coarse fouling, และ fine fouling เพื่อนํามาทดสอบในห้องปฏิบัติการดังนี้ sieve analysis, hydrometer, specific gravity, water absorption, Los Angeles abrasion, aggregate compression value, aggregate impact value, flat and elongation, sulfate soundness, Atterberg limit, และ scanning electron microscopy นอกจากนี้ยังทําการทดสอบในสนามที่จุดต่าง ๆ ของหน้าตัดดังนี้ unit weight และ water content ผลการทดสอบแสดงถึงสภาพฐานรากของทางรถไฟและได้เปรียบเทียบกับมาตรฐานทางรถไฟของประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการทดสอบได้ใช้ในการวิเคราะห์การปนเปื้อนของหินโรยทางด้วยทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณของความเหมาะสมในการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ส่วนประกอบของวัสดุปนเปื้อนเพื่อศึกษากลไกการเสื่อมสภาพของฐานรากของทางรถไฟ