dc.contributor.author |
ชุติวรรณ เดชสกุลวัฒนา |
|
dc.contributor.author |
อรฤทัย ภิญญาคง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
|
dc.date.accessioned |
2019-04-09T03:52:24Z |
|
dc.date.available |
2019-04-09T03:52:24Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3496 |
|
dc.description.abstract |
การรั่วไหลของน้ำมันปิโตรเลียม เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตามการก้าจัดปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนด้วยวิธีทางชีวภาพมักมีข้อจำกัดจากจำนวนและความสามารถของ แบคทีเรียย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ฟองน้ำทะเลถือเป็นแหล่งสำคัญของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและเป็นแหล่งที่มีแบคทีเรียอย่างอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาความหลากหลายและคัดแยกแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนจากฟองน้ำทะเลโดยใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อและไม่เพาะเลี้ยงเชื้อร่วมกัน ผลการทดลองสามารถคัดแยกกลุ่มแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้ำมันดิบได้ 13 กลุ่ม โดยสามารถย่อยสลายน้ำมันดิบ 0.25 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตร/ปริมาตร) ได้ 60–92 เปอร์เซ็นต์ในเวลา 7 วัน และสามารถคัดแยกแบคทีเรียสายพันธุ์บริสุทธิ์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้ำมันดิบได้ทั้งหมด 19 สายพันธุ์ จากนั้นนำแบคทีเรียสายพันธุ์บริสุทธิ์ดังกล่าวมาทดสอบความสามารถในการย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียมชนิดอื่น ได้แก่ น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา พบว่ามีแบคทีเรีย 9 สายพันธุ์ที่สามารถย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียมได้ทั้ง 3 ชนิด โดยย่อยสลายน้ำมันดิบ น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา ความเข้มข้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตร/ปริมาตร) ได้ 34-60 เปอร์เซ็น ต์31-76 เปอร์เซ็นต์และ 30-64 เปอร์เซ็นต์ตาม ลำดับ ในเวลา 7 วัน นอกจากนี้ พบว่า Sphingobium sp. MO2-4 มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้ำมันทั้ง 3 ชนิดดีที่สุด โดยย่อยสลายได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ สายพันธุ์ MO2-4 ยังสามารถย่อยสลายเตตระเดคเคนความเข้มข้น 500 มิลลิกรัม/ลิตร ฟีแนนทรีนและ ไพรีนความเข้มข้น 50 มิลลิกรัม/ลิตร ได้ 71, 33 และ 25 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ในเวลา 7 วัน เมื่อศึกษาเมตา จีโนม ของฟองน้ำทะเลพบแบคทีเรียในไฟลัม Proteobacteria Actinobacteria, Cyanobacteria และ Firmicutes เป็นประชากรหลักในทุกตัวอย่าง นอกจากนี ยังตรวจพบยีนที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายอัลเคนและ PAHs ในฟองน้ำทะเลหลายตัวอย่าง จากผลการทดลองท้าให้ได้ข้อมูลแบคทีเรียและยีนที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียมในฟองน้ำทะเลและยังแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนจากฟองน้ำทะเลมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนต่อไปได้ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
แบคทีเรีย -- แง่สิ่งแวดล้อม |
th_TH |
dc.subject |
ฟองน้ำทะเล -- การใช้ประโยชน์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
th_TH |
dc.title |
การคัดแยกและลักษณะสมบัติของแบคทีเรียย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่ทน โลหะหนักจากฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และการพัฒนาแบคทีเรีย พร้อมใช้สำหรับบำบัดสิ่งแวดล้อม |
th_TH |
dc.title.alternative |
Isolation and characterization of petroleum hydrocarbon-degrading bacteria capable of resistant to heavy metal from marine sponge in the eastern coast of the gulf of Thailand and development of ready-to-use bacteria for bioremediation |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.author.email |
chutiwan@buu.ac.th |
|
dc.author.email |
onruthai.p@chula.ac.th |
|
dc.year |
2560 |
|
dc.description.abstractalternative |
Petroleum oil spills are a worldwide problem, which is growing more serious with ecosystem and economic development. The success of the bioremediation of petroleum hydrocarbons is limited because of the low number and activity of hydrocarbon-degrading bacteria. Marine sponges (Porifera) are considered as important sources of active natural products, and contain an abundance of microorganisms. This study combined the culture and noncultured methods to examine bacterial diversity and isolate petroleum hydrocarbon-degrading bacteria from marine sponge samples. Thirteen sponge-associated bacterial consortia with ability to degrade 60-92% of 0.25% (v/v) crude oil in liquid cultivation within 7 days were obtained after enrichment. A total of 19 bacterial strains exhibited crude oil degrading ability was isolated from the consortia afterward. They were further screened for petroleum oil degradation capability including diesel oil and fuel oil. Nine strains showed potency in all types of petroleum oil biodegradation. They could degrade 0.25% (v/v) of crude oil, diesel oil, and fuel oil at 34%-60%, 31%-76%, and 30%-64%, respectively within 7 days. Among them, Sphingobium sp. MO2-4 showed the best ability to degrade all types of petroleum oil. The strain degraded more than 50% of initial amount of the oil within 7 days. Strain MO2-4 was then selected to evaluate its ability to degrade aliphatic and PAHs, the major components in petroleum oil. The results showed that MO2-4 could degrade 500 mg L-1 of tetradecane at 71% and degrade 50 mg L-1 of phenanthrene and pyrene around 33% and 25%, respectively within 7 days. In addition, the microbial diversity in marine sponge was investigated by metagenomic approach and the genes involved in petroleum hydrocarbon degradation were detected. Proteobacteria, Actinobacteria, Cyanobacteria and Firmicutes were dominant phyla in all the samples. Furthermore, the genes involved in alkane and PAH degradation were observed in several samples. Our results provide insight into microbial diversity and ecosystem function in marine sponges. These results demonstrated that the petroleum oil-degrading bacteria from marine sponges have potential for further bioremediation of petroleum contaminated sites |
en |