Abstract:
การรั่วไหลของน้ำมันปิโตรเลียม เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตามการก้าจัดปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนด้วยวิธีทางชีวภาพมักมีข้อจำกัดจากจำนวนและความสามารถของ แบคทีเรียย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ฟองน้ำทะเลถือเป็นแหล่งสำคัญของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและเป็นแหล่งที่มีแบคทีเรียอย่างอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาความหลากหลายและคัดแยกแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนจากฟองน้ำทะเลโดยใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อและไม่เพาะเลี้ยงเชื้อร่วมกัน ผลการทดลองสามารถคัดแยกกลุ่มแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้ำมันดิบได้ 13 กลุ่ม โดยสามารถย่อยสลายน้ำมันดิบ 0.25 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตร/ปริมาตร) ได้ 60–92 เปอร์เซ็นต์ในเวลา 7 วัน และสามารถคัดแยกแบคทีเรียสายพันธุ์บริสุทธิ์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้ำมันดิบได้ทั้งหมด 19 สายพันธุ์ จากนั้นนำแบคทีเรียสายพันธุ์บริสุทธิ์ดังกล่าวมาทดสอบความสามารถในการย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียมชนิดอื่น ได้แก่ น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา พบว่ามีแบคทีเรีย 9 สายพันธุ์ที่สามารถย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียมได้ทั้ง 3 ชนิด โดยย่อยสลายน้ำมันดิบ น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา ความเข้มข้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตร/ปริมาตร) ได้ 34-60 เปอร์เซ็น ต์31-76 เปอร์เซ็นต์และ 30-64 เปอร์เซ็นต์ตาม ลำดับ ในเวลา 7 วัน นอกจากนี้ พบว่า Sphingobium sp. MO2-4 มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้ำมันทั้ง 3 ชนิดดีที่สุด โดยย่อยสลายได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ สายพันธุ์ MO2-4 ยังสามารถย่อยสลายเตตระเดคเคนความเข้มข้น 500 มิลลิกรัม/ลิตร ฟีแนนทรีนและ ไพรีนความเข้มข้น 50 มิลลิกรัม/ลิตร ได้ 71, 33 และ 25 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ในเวลา 7 วัน เมื่อศึกษาเมตา จีโนม ของฟองน้ำทะเลพบแบคทีเรียในไฟลัม Proteobacteria Actinobacteria, Cyanobacteria และ Firmicutes เป็นประชากรหลักในทุกตัวอย่าง นอกจากนี ยังตรวจพบยีนที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายอัลเคนและ PAHs ในฟองน้ำทะเลหลายตัวอย่าง จากผลการทดลองท้าให้ได้ข้อมูลแบคทีเรียและยีนที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียมในฟองน้ำทะเลและยังแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนจากฟองน้ำทะเลมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนต่อไปได้