Abstract:
งานวิจัยนี้ได้แยกสาหร่ายจากบริเวณบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและแหล่งน้ำเค็มธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรี พบว่าในบริเวณบริเวณบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มสามารถแยกได้ 5 ชนิด คือ ไดอะตอม Nitzschia BUUC1501 ไดอะตอม Amphora BUUC1502 และสาหร่าย Unknown BUUC1503 สาหร่าย Unknown BUUC1504 และสาหร่าย Spirulina BUUC1505 ส่วนในแหล่งน้ำเค็มธรรมชาติสามารถแยกสาหร่ายได้ 2 ชนิด คือ สาหร่าย Chlorella BUUC1601 และไดอะตอม Amphora coffeaeformis (BUUC1602) เมื่อนำสาหร่ายที่แยกได้มาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการโดยใช้อาหาร F/2 ที่เตรียมจากน้ำ ทะเลธรรมชาติ (ความเค็ม 30 พีพีที) พบว่าสาหร่าย Unknown BUUC1503, Unknown
BUUC1504 และสาหร่าย Spirulina BUUC1505 เติบโตได้ดีแต่พบว่าสาหร่ายมีการปนเปื้อนจากแบคทีเรียและสาหร่ายชนิดอื่น ส่วนไดอะตอม Nitzschia BUUC1501, Amphora BUUC1502, Chlorella BUUC1601 และ A. coffeaeformis (BUUC1602) มีความบริสุทธิ์ปราศจากการปนเปื้อน และมีอัตราการเติบโตจำเพาะ 0.55, 0.47, 1.22 และ 2.46 ต่อวัน ตามลำดับ โดยมีผลผลิต
มวลชีวภาพ 71.04 x107, 62.76 x107, 1,089 x107 และ 87.33x107 เซลล์/ลิตร/วัน ตามลำดับ
ไดอะตอม Nitzschia BUUC1501, Amphora BUUC1502, สาหร่าย Chlorella
BUUC1601 และ A. coffeaeformis มีกรดไขมันปาล์มิติค (C16:0), ปาล์มิโตเลอิค (C16:1), สเตียริค
(C18:0) และ โอเลอิค (C18:1n9) ส่วนกรดไขมันไลโนเลอิค (C18:2n6) และสเตียริโดนิค (C18:4n3) พบใน Chlorella BUUC1601 และ A. coffeaeformis เท่านั้น ในขณะที่ กรดไขมันอีโคซะเพนเตอีโนอิค (C20:5n3) พบเฉพาะในไดอะตอม Nitzschia BUUC1501 (10.52% ในปริมาณกรดไขมันทั้งหมด) และ A. coffeaeformis (BUUC1602) (8.26% ในปริมาณกรดไขมันทั้งหมด)