DSpace Repository

ผลกระทบของรูปแบบการวางวัสดุผิวต่อความสูงคลื่นซัดบนโครงสร้างพื้นเอียงแบบลูกบาศก์คอนกรีต

Show simple item record

dc.contributor.author ธรรมนูญ รัศมีมาสเมือง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-04-02T14:33:14Z
dc.date.available 2019-04-02T14:33:14Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3464
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของรูปแบบการวางลูกบาศก์คอนกรีตที่มีต่อพฤติกรรมของคลื่นที่ซัดขึ้นไปบนโครงสร้างพื้นเอียงแบบลูกบาศก์คอนกรีต และเพื่อสร้างสมการเชิง ประสบการณ์ในการประมาณความสูงคลื่นซัดบนโครงสร้างพื้นเอียงแบบลูกบาศก์คอนกรีต ที่คำนึงลักษณะคลื่นเข้ากระทบ ความลาดชันของโครงสร้าง และความสูงขรุขระของพื้นผิวโครงสร้างการศึกษาดำ เนินการในรางจำลองคลื่น กว้าง 60 ซม. ลึก 80 ซม. และยาว 16 ม. ในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมชลศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยทำทดลองบนโครงสร้างพื้นเอียงผิวลูกบาศก์คอนกรีต ที่มีการจัดเรียงวัสดุผิวแตกต่างกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ จัดเรียงแบบเรียบ จัดเรียงแบบขั้นบันได และจัดเรียงแบบเทสุ่ม ขนาดของวัสดุผิวซึ่งเป็น ลูกบาศก์คอนกรีต มี 3 ขนาด ได้แก่ 30x30x30 ลูกบาศก์มิลลิเมตร, 40x40x40 ลูกบาศก์มิลลิเมตร และ 50x50x50 ลูกบาศก์มิลลิเมตร โครงสร้างพื้นเอียงแบบลูกบาศก์คอนกรีต ทำมุม 15.0 ถึง 25.0 องศา ความลึกของน้ำที่ใช้ในการทดสอบเท่ากับ 35 ซม. คลื่นที่ใช้ในการศึกษาเป็นคลื่นแบบสม่ำเสมอที่ถูกสร้างขึ้นด้วยความถี่ 1.00 ถึง 1.67 เฮิรตซ์ ดำเนินการทดลองทั้งหมด 1,350 กรณีผลการทดลองในห้องปฏิบัติบ่งชี้ว่า ความสูงคลื่นซัดบนโครงสร้างพื้นเอียงมีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับความลาดชันของโครงสร้าง ความชันของคลื่นเข้ากระทบ ความขรุขระของผิวโครงสร้างซึ่งขึ้นกับการจัดเรียงด้วย การจัดเรียงแบบเรียบทำให้ความขรุขระของผิวน้อย ไม่ส่งผลกระทบต่อความสูงคลื่นซัดมากนัก การจัดเรียงแบบขั้นบันไดและการจัดเรียงแบบเทสุ่ม ทำให้ความขรุขระของผิวพื้นเอียงเพิ่มมากขึ้น แรงเสียดทานระหว่างคลื่นกับโครงสร้างเพิ่มขึ้น และทำให้ความสูงคลื่นซัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญผลการทดลองในห้องปฏิบัติการถูกนำมาพัฒนาเป็นสมการทำนายความสูงคลื่นซัด โดยคำนึงถึงความสูงขรุขระ ทำให้มีความแม่นย ามากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสมการของพื้นเรียบ สมการที่มีความแม่นยำมากขึ้นทำให้เราสามารถออกแบบโครงสร้างให้มีความสูงลดลง ซึ่งทำให้ค่าก่อสร้างลดลงไปด้วย th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ เลขที่สัญญา 140/2559 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คอนกรีต -- การทดสอบ th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title ผลกระทบของรูปแบบการวางวัสดุผิวต่อความสูงคลื่นซัดบนโครงสร้างพื้นเอียงแบบลูกบาศก์คอนกรีต th_TH
dc.title.alternative Effects of the placement of surface materials on the wave runup on concrete-cube sloping structures en
dc.type Research th_TH
dc.author.email thamnoon@buu.ac.th
dc.year 2560 th_TH
dc.description.abstractalternative This research are to study the effects of the placement of surface materials on the behaviors of wave runup on concrete-cube sloping structures and to develop a set of empirical formulas to predict the wave runup on the concrete-cube sloping structures. The study was carried out in a wave flume of which the width of 60 cm., the depth of 80 cm. and the length of 16 m., in Hydraulic Engineering Laboratory, Department of Civil Engineering, Burapha University, Chon Buri Province. The concretecube sloping and stepped sloping structures with three different placements – smooth, stepped and random - were used in the study with the slope ranging from 15.0 to 25.0 degrees. The sizes of the concrete cube were 303030, 404040 and 505050 cubic millimeter. The water depth used in the test was 35 cm and the wave was regularly generated with the frequency of 1.00 to 1.67 Hz. The number of test was 1,350 cases in total. The laboratory results indicate that the wave runup on the sloping structures is clearly relative to the slope of the structures, the wave steepness and the roughness of structure surface, which is relative to the placement of surface materials. For the case of the smooth placement, the roughness height was very smooth and did not influence the wave runup much. Whereas for the case of the stepped and the random placements, the roughness heights became higher and induce larger friction between the waves and the structures; consequently the wave runup were lower than those of the case of the smooth placement. Experimental data was applied to develop an empirical formula for predicting the wave runup on the concrete-cube sloping structure. The proposed formula gives more accurate results compared to the formula of smooth slope. With the more accurate calculation of wave runup, design of lower height of structures can be done and lead to reduce the construction cost en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account