DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ

Show simple item record

dc.contributor.author ภาวนา กีรติยุตวงศ์
dc.contributor.author วัลภา คุณทรงเกียรติ
dc.contributor.author บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:23:28Z
dc.date.available 2019-03-25T09:23:28Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3433
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ของพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ ที่มารับการตรวจรักษา ณ หอผู้ป่วยในแผนกศัลยกรรม และอายุรกรรม ในเขตภาคตะวันออก 3 โรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี โรงพยาบาลตราด และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จานวน 100 คน ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ และแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน จากผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับค่อนไปทางสูง (M = 46.11, SD = 3.61) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ (r = -.40, p < .01) แต่ปัจจัยด้าน การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคซ้ำการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคซ้า การรับรู้ประโยชน์ ของการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ และสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ ไม่มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (p > .05) จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรสุขภาพอื่นควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยเพิ่มการรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำให้กับผู้ป่วย เพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th
dc.subject พฤติกรรมสุขภาพ th_TH
dc.subject ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ th_TH
dc.subject ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 24
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative This correlation descriptive research study aimed to identify the factors related to health behaviors among upper gastrointestinal rebleeding patients in eastern region. One hundred upper gastrointestinal rebleeding patients who met inclusion criteria and admitted inpatient surgical and medical department in 3 hospitals of eastern region, Prapokklao hospital Chanthaburi, Trat hospital and Somdet Phrayuppharat Sa Kaeo hospital. Data were collected with self-administered questionnaires developed by the researcher. The instruments consisted of a personal information questionnaire, health behavior questionnaire and perception of health belief model questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. The findings showed that overall health behaviors score was higher levels (M = 46.11, SD = 3.61). Factors related to health behaviors among upper gastrointestinal rebleeding patients were perceived barriers (r = -.40, p < .01). However, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits and cues to action were not related to health behaviors among upper gastrointestinal rebleeding patients (p > .05). The findings suggest that nurses and other health professional should promote health behavior by increase of perception of barriers for the prevention of recurrent disease for better health behavior. en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University
dc.page 51-64.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account