Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์
ของพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ ที่มารับการตรวจรักษา ณ หอผู้ป่วยในแผนกศัลยกรรม และอายุรกรรม ในเขตภาคตะวันออก 3 โรงพยาบาล คือ
โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี โรงพยาบาลตราด และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จานวน 100 คน ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ และแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน
จากผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับค่อนไปทางสูง (M = 46.11, SD = 3.61) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ (r = -.40, p < .01) แต่ปัจจัยด้าน การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคซ้ำการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคซ้า การรับรู้ประโยชน์ ของการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ และสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ ไม่มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (p > .05) จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรสุขภาพอื่นควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยเพิ่มการรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำให้กับผู้ป่วย เพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น