DSpace Repository

พิธีกรรมศพของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author บุญรอด บุญเกิด
dc.contributor.author บุญเลิศ ยองเพ็ชร
dc.contributor.author นภัสวรรณ สุภาทิตย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:23:22Z
dc.date.available 2019-03-25T09:23:22Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3363
dc.description.abstract การศึกษาเรื่องพิธีกรรมศพของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อของคนจีนแต้จิ๋วก่อนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษารูปแบบพิธีกรรมศพขอคนไทยเชื้อสายจันในจังหวัดชลบุรี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำเสนอผลการศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาปรากฏว่า ในระยะแรกของพิธีกรรมศพนั้นชาวจีนนำความเชื่อของลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋ามาผสมผสานกัน กล่าวคือ ลัทธิขงจื๊อสอนให้บุตรหลานมีความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ชาวจีนจึงต้องฝังศพเท่านั้น เนื่องจากการฝังศพสามารถจารึกชื่อแซ่และคุณความดีของบรรพบุรุษไว้ที่หน้าฮวงซุ้ย และมีการเขียนป้ายชื่อไว้กราบไหว้บูชาที่บ้านอีกด้วย เมื่อครบรอบวันเช็งเม้งต้องมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย ทำให้ต้องมีการแสดงความกตัญญูอย่างไม่ขาดระยะ ส่วนลัทธิเต๋าสอนในเรื่องธรรมชาติ การหาฮวงซุ้ยจึงต้องหาทำเลทางธรรมชาติที่เหมาะสมและสามารถเกื้อกูลให้บุตรหลานมีโชคลาภในอนาคต เมื่อชาวจีนได้รับคติพุทธศาสนานิกายมหายานเข้าไว้จึงมีการจัดศาสนพิธีขึ้น เพื่อชำระล้างบาปและมลทินของดวงวิญญาณได้ประสบสุคติในปรโลก สำหรับชาวจีนที่อพยพมาตั่งถิ่นฐานในจังหวัดชลบุรี ได้นำเอาพิธีกรรมและความเชื่อต่างๆ ของตนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย เมื่อมีวัฒนธรรมจีนเข้ามามิได้หมายความว่าวัฒนธรรมไทยจะเกิดการสูญสลายไป เพราะวัฒนธรรมไทยก็มีความเข้มแข็งอยู่พอสมควรในฐานะที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ผ่านการพัฒนาและการสั่งสมทางวัฒนธรรมเป็นเวลานาน ส่งผลให้วัฒนธรรมจีนในฐานะของผู้ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ จำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยให้ได้และสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พิธีกรรมศพของคนจีนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรีเกิดการเปลี่ยนแปลงและการผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย คือ การแต่งงานและลักษณะของครอบครัว ศาสนาและความเชื่อ การศึกษา อย่างไรก็ดี ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรีแม้จะมีการปฏิบัติตามพิธีกรรมคล้ายคลึงกับที่เคยปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต แต่ความไม่เข้าใจในประเพณีอย่างถ่องแท้ อีกทั้งผลกระทบจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความเป็นสมัยใหม่รวมทั้งความไม่เข้าใจในความเป็นจีนเหมือนชาวจีนรุ่นก่อน เพราะมีความป็นไทยเข้ามาผสมผสานมาก ย่อมทำให้รูปแบบการจัดงานรวททั้งพิธีกรรมในการปฏิบัติแปรเปลี่ยนไปบ้าง แต่สิ่งที่เหลืออยู่คู่กับความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนก็คือดวงวิญญาณของบรรพบุรุษจะไม่ได้รับความลำบาก และได้ไปอยู่ในภพภูมิที่ดี th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ชาวไทย - - จีน - - พิธีศพ th_TH
dc.subject พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม th_TH
dc.subject พิธีศพ th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title พิธีกรรมศพของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรี th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 8
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative This research entitled “The Rituals for the Dead of Chinese-Thai in Chonburi" aims firstly to study the belief of Chaozhou people before immigrating into Chonburi, secondly, to study the organization of the rituals for the dead of Chinese-Thai in Chonburi; and thirdly, to investigate the factors of cultural change and integration for holding the rituals for the dead of this group of people. The findings are presented in form of descriptive analysis. The findings show that so far the rituals have been greatly evolved. At the very beginning, the Chinese integrated Confucian's and Taoist's beliefs into the practice. In Confucianism, gratitude towards ancestor is one of the most important principles and the bodies of the dead ancestors are not allowed to be cremated but buried. This is because names, family names, and contributions of the dead can be inscribed on the gravestones front of the tombs Also, a plate inscribed with the name of the dead ancestor is made and brought to the family's house for the descendants to worship. During Chingming Festival of every year, the descendants have to worship in front of the tombs of their dead ancestors. In Taoism nature is the essence. The location of the tomb must be delicately selected and harmonized with the nature and it must promote the descendants' prosperity in the future, according to the Taoist belief. Later, the Mahayana Buddhism influenced the belief of this group of Chinese people. Religious rituals have been integrated with the belief that the rituals will purify the dead ancestor's soul so that the soul will proceed to land of tranquility in the afterworld For the Chinese people settling in Chonburi have integrated their belief and rituals into Thai culture which results in Thai Chinese culture. Both Thai and Chinese cultures have been preserved and exist. The reasons which facilitate this integration are marriage, characteristic of family, religion and belief, and education Although the Chinese-Thai people living in Chonburi have tried to keep their traditional practice, the rituals are deviated from what they were in the past. This is because of the lack of insight knowledge of custom, the unclearness of being true Chinese, and the influences of modernization and technology. However, what is existing with these Chinese-Thai is the belief that their ancestors' souls are being with them and the descendants do hope that their ancestors' souls are living in peace. en
dc.journal วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of politics, administration and law
dc.page 323-340.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account