Abstract:
นิติภิวัฒน์ คือ กรอบการศึกษาการขยายตัวของกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อเข้าไปจัดการปัญหารูปแบบใหม่ของสังคมที่เกิดขึ้น โดยหลักนิติภิวัฒน์เป็น กรอบการศึกษาแบบสหวิทยาการและบูรณาการเพื่อเชื่อมโยง “การเมืองกับ กฎหมาย” ให้เข้ามาเชื่อมโยงกัน บทความนี้จะอธิบายถึงนิยามและการทำงาน ของนิติภิวัฒน์ที่เข้าไปสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและกฎหมาย ในฐานะที่กฎหมายเป็นผลผลิตของการเมืองและเป็นราคาของการต่อสู้ทาง การเมืองของกลุ่มต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้การขยายตัวของกฎหมายจึงมีการเมือง อย่างมาก ทั้งในด้านการจัดการปัญหาสังคมและการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ จนนำมาสู่การถกเถียงของ ฝ่ายที่สนับสนุนนิติภิวัฒน์ ที่ให้รัฐมีกฎหมายแทรกแซงจัดการปัญหาสังคม และฝ่ายต่อต้านนิติภิวัฒน์ที่เคลื่อนไหวเพื่อลดการแทรกแซงและการเพิ่ม อำนาจของรัฐ ทั้งนี้ ในบทความจะมีกรณีตัวอย่างโดยสังเขปในเรื่องของความ เป็นพลเมือง สวัสดิการสังคม และประชาธิปไตย เพื่อทำให้เห็นภาพของ นิติภิวัฒน์ได้ชัดเจนมากขึ้น และทลายกำแพงวินัยทางวิชาการของ “รัฐศาสตร์” และ “นิติศาสตร์” ด้วยการมองความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับกฎหมาย ให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น